ปัจจัยการตลาดท่องเที่ยวกับกระบวนการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว : กรณีศึกษา เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

กมลธร กาญจนพงค์
ญาณกร วรากุลรักษ์
ฉัตยาพร เสมอใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และอาชีพ 2) ศึกษากระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และอาชีพ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการตลาดท่องเที่ยวกับกระบวนการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน สัมภาษณ์เชิงลึกคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด และสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group) นักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยว เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อายุ 21-30 ปี จำนวน 18 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสถิติโดย (t-test) และความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไม่แตกต่างกัน อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และอาชีพ ต่างกัน นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งภาพรวมนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านราคามากที่สุด รองลงมาด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และด้านการจัดรวบรวมผลิตภัณฑ์น้อยที่สุด นักท่องเที่ยวที่มีเพศต่างกันให้ความสำคัญกับกระบวนการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไม่แตกต่างกัน อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และอาชีพ ต่างกัน นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งภาพรวมนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านสิ่งเร้ามากที่สุด รองลงมาด้านการค้นหาข้อมูล และด้านการประเมินทางเลือกน้อยที่สุดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดท่องเที่ยวกับกระบวนการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภาพรวมมีระดับความสัมพันธ์ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเฉพาะด้านผลิตภัณฑ์มีระดับความสัมพันธ์สูงที่สุด ด้านความร่วมมือทางธุรกิจมีระดับความสัมพันธ์ต่ำที่สุด และด้านกระบวนการของการบริการไม่มีระดับความสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กมลธร กาญจนพงค์, คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

นักศึกษามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

ญาณกร วรากุลรักษ์, คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาจารย์ประจำหลักสูตร คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

ฉัตยาพร เสมอใจ, คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาจารย์ประจำหลักสูตร คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

References

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ. (2559). [ออนไลน์]. 7-9 มกราคมท่องเที่ยวไทยปี 58 ทำสถิติใหม่ โกยรายได้ทะลุ 2.2 ล้านล้าน.ปีที่ 36 ฉบับที่ 3120. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559]. จาก http://www.thansettakij.com/

สำนักงานสถิติจังหวัดนนทบุรี.(2559). [ออนไลน์]. รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2558 นนทบุรี. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559]. จาก http://nontburi.nso.go.th/

อลิสา รามโกมุท. (2556). วิถีชาวมอญเกาะเกร็ด เตาเผาโบราณ: เปรียบเทียบระหว่างเตาหลังเต่าที่ เกาะเกร็ดกับเตาทุเรียนที่เมืองศรีสัชนาลัย. กรุงเทพมหานคร: ไอเดียสแควร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด.(2557). [ออนไลน์]. ข่าวประชาสัมพันธ์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมพ.ศ. 2557]. จาก www.Kohkred-sao.go.th

สุดาพร ทองสวัสดิ์. (2559). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดสงขลา. งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2559 สงขลา: มหาวิยาลัยหาดใหญ่

ชายชาญ ปฐมกาญจนา และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). [ออนไลน์]. แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2558) [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560]. จาก http://www.la.mahidol.ac.th/dbthai/

จิรวุฒิ หลอมประโคนและคณะ. (2557). [ออนไลน์]. ปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559]. จาก http://www.east.spu.ac.th/

ศิริวรรณ จันทวงศ์. (2557). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยในการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวเกาะช้าง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประทุมวรรณ เรืองวิริยะรัตน์. (2556). ปัจจัยด้านแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว ตลาดเพลินวาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการตลาด. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันทิกา หิรัญเทศ. (2552). ปัจจัยทางการตลาดกับการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาตลาดน้าไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

กวิน วงศ์ลีดี และศิริเพ็ญ เยี่ยมจรรยา. (2555). ปัจจัยด้านการตลาดและปัจจัยด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ ตลาดนัดสวนจตุจักร. กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อมรรัตน์ วงศ์เป็ง. (2552). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป.วารสารธุรกิจทั่วโลกและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. (มีนาคม พ.ศ. 2552)

ศิวพร วงศ์คูณ. (2558). [ออนไลน์]. ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดบริการกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจนำเที่ยว: กรณีศึกษาบริษัทบ้านมัคคุเทศก์ จำกัด สาขาย่อยจังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2558) [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560]. จาก http://www.kmutt.ac.th/