การพัฒนาเสื้อผ้าสตรีไร้ตะเข็บด้วยเทคนิคการทำแบบตัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาชุดทำงานสตรีไร้ตะเข็บ โดยใช้เทคนิคการทำแบบตัด และ2) ศึกษาความพึงพอใจต่อชุดทำงานสตรีไร้ตะเข็บของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีวัยทำงานของบริษัทเอกชนในเขต สีลม บางกะปิ และปทุมวัน กรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบชุดทำงานสตรีไร้ตะเข็บต้นแบบ ประกอบด้วย เสื้อคลุม เสื้อตัว ชุดติดกัน กระโปรง และกางเกง ออกแบบโดยการใช้ผ้า 3 ชนิด ได้แก่ ผ้าน้ำหนักเบา ผ้าน้ำหนักปานกลาง และผ้าน้ำหนักมาก จำนวนแบบร่างละ 3 แบบ รวมทั้งสิ้น 15 แบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคจำนวนทั้งหมด 385 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26-30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนประมาณ 15,001–25,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่เคยซื้อ ไม่เคยใช้เสื้อผ้า หรือเครื่องแต่งกายไร้ตะเข็บ โดยตัดสินใจเลือกซื้อชุดทำงานเพราะรู้สึกชอบ ซึ่งซื้อชุดทำงานทุกเดือน ส่วนใหญ่ซื้อในราคาตัวละ 501-1,000 บาท ส่วนความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อชุดทำงานสตรีไร้ตะเข็บ จำแนกตามรูปแบบเสื้อคลุม เสื้อตัวใน ชุดติดกัน กระโปรง และกางเกง ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อชุดทำงานสตรีไร้ตะเข็บ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรูปแบบชุดทำงาน ผู้บริโภคมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากทุกรูปแบบ โดยอันดับแรก คือ ชุดติดกัน รองลงมา ได้แก่ กางเกง กระโปรง ตัวเสื้อใน และเสื้อคลุม ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
Email: sasithorn.daraka@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ : 087-2696326