การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาทูอบแห้งกึ่งสำเร็จรูป

Main Article Content

จินต์จุฑา ไชยศรีษะ
อมรรัตน์ เจริญชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการผลิตน้ำพริกปลาทูอบแห้งกึ่งสำเร็จรูป 2) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคของน้ำพริกปลาทูอบแห้งกึ่งสำเร็จรูป ประชากรที่ใช้ศึกษามี 2 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน และกลุ่มตัวอย่างจากอาจารย์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พื้นที่พระนครใต้ จำนวน 100 คน ที่มีแผนแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ และนำไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านความชอบโดยรวม สี กลิ่น รส เนื้อสัมผัส และ ลักษณะปรากฏ ด้วยวิธีชิมแบบให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ (9 Point Hedonic Scale)
ผลจากการศึกษาพบว่า สูตรที่ 1 ได้คะแนนความชอบมากที่สุด จากนั้นทำน้ำพริกปลาทูสูตรมาตรฐาน อบปลาทูโดยอบลมร้อน ใช้ความร้อนที่ 90, 80 และ 70 องศาเซลเซียส ในระยะเวลา 3 4 และ 5 ชั่วโมงตามลำดับ อบส่วนผสมอื่นๆ โดยใช้วิธีอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส 3 ชั่วโมง แล้วผสมกัน พบว่า การอบปลาทูด้วยเตาลมร้อนโดยใช้ความร้อนที่ 70 องศาเซลเซียส เวลา 5 ชั่วโมง ได้คะแนนความชอบมากที่สุด น้ำพริกปลาทูอบแห้งกึ่งสำเร็จรูป นำมาคืนรูปโดยใช้น้ำร้อน ในอัตราส่วน 1:1 1:2 1:3 จับเวลา 1 นาที วางแผนการทดลองโดยใช้การสังเกต พบว่า น้ำพริกปลาทูอบแห้งกึ่งสำเร็จรูปที่นำมาคืนรูปโดยน้ำร้อน ในอัตราส่วน 1: 2 ลักษณะใกล้เคียงกับน้ำพริกปลาทูสูตรมาตรฐานมากที่สุด เมื่อนำมาตรวจคุณภาพทางเคมี และวิเคราะห์หา โปรตีน ไขมัน ความชื้น เถ้า พบว่า โปรตีนร้อยละ 63.42 ไขมันร้อยละ 5.59 ความชื้นร้อยละ 4.31 ใยอาหารร้อยละ 6.02 และเถ้าร้อยละ 11.30 ซึ่งน้ำพริกปลาทูอบแห้งกึ่งสำเร็จรูปมีค่าความชื้นร้อยละ 4.31

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จินต์จุฑา ไชยศรีษะ, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาบัณฑิต  สาขาคหกรรมศาสตร์  คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร     

อมรรัตน์ เจริญชัย, ณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร    

ศาสตราจารย์ ดร.อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาคหกรรมศาสตร์  คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร    

References

จริยา เดชกุญชร.(2549). อาหารไทยภาคกลาง. เพชรการเรือน. กรุงเทพมหานคร.

สมศรี เจริญเกียรติกุล.(2554). ตำหรับอาหารไทย.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.inmu.mahidol.ac.th/gallery/inmucooking/Central_Region_food.html.

(วันที่สืบค้น 19 กันยายน 2558).

สิริมนต์ ชายเกตุ และคณะ.(2554).การบริโภคน้ำพริกของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.ปริญญานิพนธ์.ภาควิชาคหกรรมศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

รุ่งทิวา วงค์ไพศาลฤทธิ์. 2553. เมนูจากปลาทู.สำนักพิมพ์ไทยควอลิตี้บุคส์. กรุงเทพมหานคร.

สุภรณ์ พจมณี.(2550). ตำหรับอาหารไทย.เอกสาร ประกอบการสอน.สาขาอาหารและโภชนาการ. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.กรุงเทพมหานคร.

เพ็ญพร ประมวลสุข. อาหารไทย(เอกสารประกอบการสอน). สาขาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

จันทร ทศานนท์.(2531). อาหารไทย. พิมพ์ครั้งที่9. สิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์, กรุงเทพมหานคร.