การพัฒนากระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง

Main Article Content

ฐิติวรรณ ทิพย์สังวาลย์
ปณิตา วรรณพิรุณ
ขัตติยา แถวโสภา ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การพัฒนากระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้  1) เพื่อศึกษาความต้องการใช้รถยนต์มือสองของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคกลาง  2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดหารถยนต์มือสองของผู้ประกอบการธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง  3)  เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง  4) เพื่อประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลางที่พัฒนาขึ้น และ 5) เพื่อประเมินประสิทธิผลด้านระยะเวลาในการดำเนินงานหลังการใช้กระบวนการจัดการรถยนต์มือสองของผู้ประกอบการธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการใช้รถยนต์มือสองของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคกลาง ระยะที่ 2 การศึกษากระบวนการจัดหารถยนต์มือสองของผู้ประกอบการธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง ระยะที่ 3 การพัฒนากระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง ระยะที่ 4 การประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลางที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 5 การประเมินประสิทธิผลด้านระยะเวลาในการดำเนินการหลังงานใช้กระบวนการจัดการรถยนต์มือสองของผู้ประกอบการธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ประชาชนในเขตพื้นที่ภาคกลาง ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่อาศัยอยู่ใน 8 อำเภอ จำนวน 400 คน  ได้จากการสุ่มอย่างง่าย และผู้ประกอบการธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 7 ท่าน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามความต้องการใช้รถยนต์มือสองของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคกลาง (2) แบบสัมภาษณ์กระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง


(3) กระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง และ (4) แบบประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลางที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการจัดหารถยนต์มือสองของผู้ประกอบการธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง ประกอบด้วย 3 กระบวนการย่อย ดังนี้ (1) กระบวนการการจัดหารถยนต์มือสองเข้าเต็นท์ (2) กระ บวนการจัดการหลังจากซื้อรถยนต์มือสองเข้าเต็นท์ และ (3) กระบวนการการขายรถยนต์มือสอง 2) ผลการประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลางในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กระบวนการจัดหารถยนต์มือสองเข้าเต็นท์ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กระบวนการขายรถยนต์มือสอง และกระบวนการจัดการหลังจากซื้อรถยนต์มือสองเข้าเต็นท์ตามลำดับ 3) ผลประเมินประสิทธิผลด้านระยะเวลาในการดำเนินงานหลังการใช้กระบวนการจัดการรถยนต์มือสองของผู้ประกอบการธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง พบว่า ระยะเวลาในการดำเนินงานหลังการใช้กระบวนการลดลงทุกด้าน

Article Details

How to Cite
ทิพย์สังวาลย์ ฐ. . ., วรรณพิรุณ ป. . ., & แถวโสภา ยั่งยืน ข. . . (2023). การพัฒนากระบวนการจัดการโซ่อุปทานสินทรัพย์ของธุรกิจยานยนต์มือสองในเขตพื้นที่ภาคกลาง. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 30(107), 115. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/1246
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ฐิติวรรณ ทิพย์สังวาลย์, มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต    

บัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต    

ปณิตา วรรณพิรุณ, สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัวหน้าศูนย์วิจัยการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ขัตติยา แถวโสภา ยั่งยืน, มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประธานหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

References

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2558). [ออนไลน์]. “รถมือสอง”พลิกเกมสู้ตลาด. [สืบค้นข้อมูลเมื่อ 1 ตุลาคม 2559]. จาก http:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/626503.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2557). [ออนไลน์]. แคมเปญรถใหม่ทุบมือสองไม่หยุด ผู้ประกอบการรอครึ่งปีหลังฟื้นตัว. [สืบค้นข้อมูลเมื่อ 1 ตุลาคม 2559]. จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php? newsid=1397403918.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สุรีวิยาสาส์น จำกัด.

เอกวีณา วิเชียร. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์มือสอง. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 27 ฉบับที่ 94 เมษายน – มิถุนายน 2558. 54 – 63. สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิลาสินี จันทร์แจ่มใย. (2554). [ออนไลน์]. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์ผ่านเต็นท์รถมือสอง. [สืบค้นข้อมูลเมื่อ 28 กันยายน 2559]. จาก http://spu.ac.th/commarts/files/2013/09/บทความ1.doc.