การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงตามสภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคล บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง ความน่าจะเป็น

Main Article Content

พูลศรี เวศอุฬารย์
ไพโรจน์ เบาใจ
ชลธิชา นุชพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงตามสภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ให้มีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 (2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงที่พัฒนาขึ้น (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มควบคุมที่เรียนจากการสอนแบบปกติกับกลุ่มทดลองที่เรียนจากบทเรียนอีเลิร์นนิง (4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้หลังจากเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงเมื่อเรียนผ่านมา 2 สัปดาห์และ 4 สัปดาห์ และ (5) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบอีเลิร์นนิงที่พัฒนาขึ้น งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 115 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสถิติวิศวกรรมซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มอย่างง่าย จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพัฒนาเครื่องมือ 40 คน กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) บทเรียนอีเลิร์นนิงตามสภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง ความน่าจะเป็น (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนแบบอีเลิร์นนิง (4) แบบประเมินคุณภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านอีเลิร์นนิง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า (1) บทเรียนอีเลิร์นนิงตามสภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง ความน่าจะเป็น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.93/83.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.72 (3) เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ความคงทนในการเรียนรู้หลังจากเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงเมื่อเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์และ 4 สัปดาห์กับการทดสอบหลังเรียนทันทีมีผลการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน และ (5) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนแบบอีเลิร์นนิงอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พูลศรี เวศอุฬารย์

ดร. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

ไพโรจน์ เบาใจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

ชลธิชา นุชพงษ์, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

อรรณพ บัวแก้ว. (2546). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม เรื่องสถาปัตยกรรมสมัยใหม่. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สมภพ ทองปลิว. (2556). การพัฒนารูปแบบสภาพ แวดล้อมการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิงบนเครือข่ายทางสังคม เรื่อง การอินทิเกรต. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

Attwell, Graham. (2007). [online]. PersonalLearning Environments – The Future of eLearning?. [12 May 2015]. Retrieved from

http://digtechitalia.pbworks.com/w/file/fetch/88358195/Atwell%202007.pdf

Judith, B Strother. (2003). [online]. Shaping Blended Learning Pedagogy for East Asia Learning Styles. [9 August 2016]. Retrieved from http://ieeexplore.ieee.org/document/1245513/

Bonk, J. Curtis and Graham, R. Charles. (2006). The Handbook of Blended Learning. USA.: John Wiley & Sons, Inc.

สุบรร น้อยตาแสง. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ธุรกิจในชีวิตประจำวันระหว่างการสอนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายและการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Miller, Robert D. (2009). [online]. Developing 21st century skills through the use of student personal learning networks (Order No. 3383118). Available fromProQuest Dissertations & Theses Global. (305177755). [8 August 2016]. Retrieved from https://search.proquest.com/docview/305177755?accountid=44800

เตือนใจ ทองดี. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning) กับการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.