การศึกษาทักษะชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Main Article Content

อัจฉรา อินโต
กฤตย์ตนัย ธารารัตนสุวรรณ
วชิรา อยู่ศุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดทักษะชีวิตและการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ศึกษาทักษะชีวิตและการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี      ราชมงคลสุวรรณภูมิ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 220 คน เพศหญิง จำนวน 180 คน สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จำนวน 200 คน คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวน 120 คน และคณะศิลปศาสตร์จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดทักษะชีวิตและการทำงาน (Life and career skills) ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาตามกรอบแนวคิดของ Partnership for 21st Century Skills (2009) มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดอยู่ที่ระดับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ระดับคะแนนทักษะชีวิตและการทำงานทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ 1) ด้านทักษะการเข้าถึงคน 2) ด้านความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง 3) ด้านการเพิ่มพูนประสิทธิผลของตนเอง 4) ด้านความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ 5) ด้านการยืดหยุ่นและการปรับตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อัจฉรา อินโต, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

อาจารย์ประจำ สาขาวิชาเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

กฤตย์ตนัย ธารารัตนสุวรรณ, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

อาจารย์ประจำ สาขาวิชาเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

วชิรา อยู่ศุข, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

อาจารย์ประจำ สาขาวิชาเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

 

References

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). ทักษะการดำรงชีวิต: เสริมสร้างคุณภาพเด็กไทย. กรุงเทพมหานคร : วุฒิวัฒน์การพิมพ์.

Partnership for 21st Century Skills. (2009). [ออนไลน์]. 21st Framwork Defination [สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 ธันวาคม 2557]. จาก http://www.p21.org/.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (2556). [ออนไลน์]. การวิจัยนำร่องการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูสำหรับศตวรรษที่ 21. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 26 มกราคม 2557]. จาก http://re-ed.onecapps.org/ReEDFile/sym1513. pdf.

ตันติกร ขุนาพรม. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 22 ฉบับที่ 1. กรกฎาคม 2559. 85-94.

พิมพ์ โหล่คำ. (2550). ความสามารถในการบริหารเวลาของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อารียา สุพิชญางกูร. (2550). ผลของการใช้โปรแกรมฝึกอบรมการบริหารเวลาตามทฤษฎีของบริททันและกรินน์ต่อทัศนคติต่อเวลาและพฤติกรรมการวางแผนการใช้เวลาของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยรังสิต. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วารินทร์ บินโฮเซ็น และมนสภรณ์ วิทูรเมธา. (2549). การพัฒนาทักษะการบริหารเวลาของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2549. 83-93.