การพัฒนากระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนากระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมัน ในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ลานเท สหกรณ์การเกษตร ในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน (2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการโลจิสติกส์ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ลานเท สหกรณ์การเกษตร ในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน (3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาของเกษตรกร ลานเท และสหกรณ์การเกษตร ในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน (4) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน และ (5) เพื่อประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรต้น คือ กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน ตัวแปรตาม คือ ความเหมาะสมของกระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษากระบวนการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ลานเท สหกรณ์การเกษตร ระยะที่ 2 การศึกษากระบวนการจัดการโลจิสติกส์ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ลานเท สหกรณ์การเกษตร ระยะที่ 3 การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาของเกษตรกร ลานเท และสหกรณ์การเกษตร ระยะที่ 4 การพัฒนากระบวนการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมัน และ ระยะที่ 5 การประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน จังหวัดชุมพร 8 อำเภอ จำนวน 201 คน ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน ผู้ประกอบการธุรกิจลานเท จังหวัดชุมพร 8 อำเภอ จำนวน 16 ลานเท ได้จากเลือกแบบเจาะจง และสหกรณ์การเกษตร จังหวัดชุมพร 8 อำเภอ จำนวน 7 สหกรณ์ ได้จากเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามการพัฒนากระบวนการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน สำหรับเกษตรกร ลานเท และสำหรับสหกรณ์การเกษตร (2) แบบประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน
สำหรับเกษตรกร ลานเท และสำหรับสหกรณ์การเกษตร สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย 3 กระบวนการย่อย ดังนี้ 1) กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันของเกษตรกร 2) กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันของลานเท และ 3) กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันของสหกรณ์การเกษตร ผลการประเมินประสิทธิผลด้านระยะเวลาในการดำเนินงานหลังการใช้กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันของเกษตรกร สหกรณ์ พบว่า ระยะเวลาในการจัดการกระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในภาพรวมลดลง 6 ชั่วโมง รองลงมาได้แก่ ผลการประเมินประสิทธิผลด้านระยะเวลาในการดำเนินงานหลังการใช้กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันของลานเท พบว่า ระยะเวลาในการจัดการกระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในภาพรวมลดลง 9 ชั่วโมง ผลการประเมินรับรองความเหมาะสมของกระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน ในภาพรวมพบว่ากระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน ของสหกรณ์การเกษตร มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน ของเกษตรกร และ กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจปาล์มน้ำมันในเขตเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบน ของลานเท ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2551). หน้า 220 ปาล์มน้ำมันกับความต้องการผลิตเพื่ออุปโภคบริโภค. [ สืบค้นข้อมูล เมื่อ 2 มีนาคม 2560 ] จาก http://mgt1.pnu.ac.th/sar56/4.6/7-1.pdf
สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร. (2545). ปาล์มน้ำมัน: มุมมองการพัฒนาในอนาคต. [ สืบค้นข้อมูล เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2559 ] จาก http://www.chumphon.doae.go.th/sara/palm01.html
ศูนย์วิจัยกสิกร Online. (2547). ปาล์มน้ำมัน: พืชเศรษฐกิจ ที่น่าจับตามอง. [ สืบค้นข้อมูล เมื่อ 15 ธันวาคม 2559 ]. จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9470000093275
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สุรีวิยาสาส์น จำกัด.
พลแสน ดวงแก้ว. (2550). การจัดการโลจิสติกส์ของสวนปาล์มน้ำมันใน อำเภอพูนพิน และอำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
พนารัตน์ ศรีเชษฐา. (2559). การพัฒนาระบบสำหรับแนะนำพันธุ์และวิเคราะห์ผลิตผลปาล์มน้ำมันตามสภาพปัจจัยสิ่งแวดล้อมและความต้องการ. การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. ครั้งที่ 12. หน้าที่ 248-253 พ.ศ. 2559. [ขอนแก่น, 7-8 กรกฎาคม 2559]