การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างโดยอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่า 1) นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21 - 30 ปี สถานภาพสมรส ประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001 - 10,000 บาท 2) นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง โดยภาพรวม ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่การจัดจำหน่าย ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการขาย ตามลำดับ อยู่ในระดับมาก 3) นักท่องเที่ยวเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง ด้านการส่งเสริมการขายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักท่องเที่ยวที่มีสถานภาพสมรสต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง โดยภาพรวม ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการขาย แตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) นักท่องเที่ยวที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง ด้านการส่งเสริมการขายแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 6) นักท่องเที่ยวที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง ด้านสถานที่การจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขายแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.(2559). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย 2559 – 2560. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2553). รายงานสถิติการท่องเที่ยวในประเทศ ประจำปี 2553. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพมหานคร.
ธิติมา หอมวุฒิวงศ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดพะเยา. รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. คณะเศรษฐศาสตร์. สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนพล ก่อฐานะ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานตามหลักธรรมา ภิบาลของบริษัทมหาชนในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีที่ 12 ฉบับที่ 2. กรกฎาคม-ธันวาคม 2560.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัทธรรมสาร จำกัด.
จิรพรรณ พรหมลิขิตชัย และ ลลนา เทพวรรณ์.(2549). [ออนไลน์]. การศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอาหาร จังหวัดระนอง. http://foodsan.anamai.moph.go.th/download/ order49/rranong.doc.
ประภาพร โถน้อย. (2551). การศึกษาสภาพการดำเนินงานของธุรกิจผลิตภัณฑ์ชุมชน และผลที่เกิดจากการไดรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) วิทยานิพนธ์ ภาควิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุดจินดา ดังก้อง. (2551). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางในทัศนะของประชาชนในจังหวัดลำปาง.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Gulick, L. and Urwick, L.F. (1973). Paper on Sciences of Administration. New York: Institution of public Administration.
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Etzel, Michael J.; Walker, Bruce J.; & Stanton, William J. (2007) Marketing. 14th ed. Boston:McGraw – Hill.