การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมหม้อแกงแก่นตะวันผงเพื่อสุขภาพ

Main Article Content

จิรายุทธ จูมพลหล้า
ธนภพ โสตรโยม
ชญาภัทร์ กี่อาริโย
น้อมจิตต์ สุธีบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชนิดของกะทิที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขนมหม้อแกง 2)ศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของแก่นตะวันผงในผลิตภัณฑ์ขนมหม้อแกง และ 3) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขนมหม้อแกงแก่นตะวันผงเพื่อสุขภาพ โดยการใช้กะทิสำเร็จรูป 3 ชนิดมาทำการศึกษา จากนั้นนำสูตรที่ได้จากการศึกษาชนิดของกะทิมาทำการเสริมแก่นตะวันผง 3 ระดับ คือ ร้อยละ 2, 4 และ 6 ทำการทดสอบการยอมรับโดยผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัสซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและโภชนาการจำนวน 40 คน ผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า การเสริมแก่นตะวันผงร้อยละ 2 และ 4 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p≤.05) นำสูตรที่ผ่านการคัดเลือก คือ ร้อยละ 4 ไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคจำนวน 100 คน ด้วยวิธีการให้คะแนนความชอบแบบ 9-Point Hedonic Scale พบว่า ผู้บริโภคให้ความชอบผลิตภัณฑ์ขนมหม้อแกงแก่นตะวันผงเพื่อสุขภาพในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก (7.11–7.76) และร้อยละ 100 ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ขนมหม้อแกงแก่นตะวันผงเพื่อสุขภาพ เมื่อศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ขนมหม้อแกงแก่นตะวันผงเพื่อสุขภาพ พบว่า มีค่าความแข็ง 319.72 ค่าความเหนียวแน่น 230.83 ค่าการเกาะตัวกัน 0.17 และค่าความยากในการเคี้ยว เท่ากับ 24.85 ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะทางกายภาพ ด้านสีผิวหน้าขนม มีค่าความสว่าง (L*) 37.13 ค่าสีเขียวถึงสีแดง (a*) 8.27 และค่าสีน้ำเงินถึงสีเหลือง (b*) 12.15 ส่วนด้านสีเนื้อขนม มีค่าความสว่าง (L*) 46.52 ค่าสีเขียวถึงสีแดง (a*) 5.06 และค่าสีน้ำเงินถึงสีเหลือง (b*) 14.34 และผลวิเคราะห์ด้านองค์ประกอบทางเคมีในด้านปริมาณความชื้น  


ร้อยละ 37.71 โปรตีน ร้อยละ 14.36 ไขมัน ร้อยละ 3.21 เถ้า ร้อยละ 0.79 ใยอาหารหยาบ ร้อยละ 3.23 ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ ร้อยละ 33.27 คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 40.70 และปริมาณพลังงานทั้งหมด ร้อยละ 249.13

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จิรายุทธ จูมพลหล้า, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ธนภพ โสตรโยม, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย-เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อาจารย์ ดร.ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย-เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี-ราชมงคลพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี-ราชมงคลพระนคร

น้อมจิตต์ สุธีบุตร, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย-เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อาจารย์ ดร.ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย-เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

แดงต้อย มาลี. (2535). ขนมหม้อแกง. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ต้นอ้อ จำกัด.

กองโภชนาการ กรมอนามัย. (2549). รายงาน การสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

Frank A., Leenheer L.D. (2002). Inulin. In: Biopolymers, Polysaccharides II: Polysaccharides from Eukaryotes. Vol. 6. 439-479.

Gene A Spiller. 2001. CRC handbook of dietary fiber in human nutrition. 3rd ed. Boca Raton,Fla., USA. 709 p.

กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์. (2559). เอกสารประกอบการสอนวิชาขนมไทย. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Nicolas, L., Marquilly C., and O’Mahony, M. (2010). The 9-Point Hedonic Scale: Are Words and Numbers Compatible Food Quality and Preference. 21 (8): 1008–1015.

AOAC. (2000). Official Method of Analysis of AOAC International. 17th ed. Washington DC: The Association of Official Analytical Chemistry.