ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว 2) ศึกษาการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่ซื้อ/เคยซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรี กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือนักท่องเที่ยว ได้แก่ ตลาดน้ำเกาะเกร็ด ตลาดน้ำไทรน้อย ตลาดน้ำวัดใหญ่สว่างอารมณ์ จำนวน 400 คน ซึ่งผู้วิจัยเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive selection) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ทดสอบความสัมพันธ์จากค่า Chi – Square test และวัดความสัมพันธ์โดยค่าสถิติ Contingency Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 31 - 40 ปี อาชีพข้าราชการ สถานภาพสมรส มีรายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เพราะคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยเป็นประเภทผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบและผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น เพราะรสชาติอร่อย และการตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ประเภทพร้อมดื่มเพราะมีคุณประโยชน์ มีแรงจูงใจในการซื้อเพราะคุณภาพของสินค้า โดยรูปแบบการขายนักท่องเที่ยวชอบเดินเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เองดูจากป้ายแสดงสรรพคุณชัดเจน ส่วนการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรี พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการขาย อายุ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการซื้อ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร และรูปแบบการขาย รายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เหตุผลในการซื้อเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และรูปแบบการขาย ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กันทั้ง 6 ด้าน ยกเว้นประเภทเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ส่วนสถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช).(2558).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก :http://www.komchadluek.net/mobile/detail, 8 ตุลาคม 2558, 15 กันยายน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช ).(2558).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก :http://www.komchadluek.net/mobile/detail, 8 ตุลาคม 2558, 15 กันยายน.
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ.(2558). รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม.สัมภาษณ์,10 พฤษภาคม.
ปิยะวรรณ แสงทอง. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาคหกรรมศาสตร์เพื่อชุมชน.คณะศิลปะศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิริยา เผ่าเจริญ. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดตะเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว. คณะศิลปะศาสตร์. มหาวิทยาลัยพะเยา.
ธนัญญา กาญจนาภาส. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาวิชาการประกองการ. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.