การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบุคลากรด้านการเงินการคลังภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้และความต้องการฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบุคลากรด้านการเงินการคลังภาครัฐ 2) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบุคลากรด้านการเงินการคลังภาครัฐ และ 3) ประเมินรูปแบบการฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบุคลากรด้านการเงินการคลังภาครัฐ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของกรมบัญชีกลาง เลือกแบบเจาะจง จำนวน 19 คน และบุคลากรด้านการเงินการคลังภาครัฐ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 322 คน ทดลองฝึกอบรมจริงกับบุคลากรด้านการเงินการคลังภาครัฐที่บรรจุเข้ารับราชการระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 และสมัครใจ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t test) ผลการวิจัยพบว่า
สภาพการใช้การฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ได้แก่ 1) พฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสืบค้นข้อมูลของบุคลากร 2) การมีสัญญาณเครือข่ายไร้สายให้บริการของหน่วยงาน 3) การให้คำปรึกษาระหว่างเพื่อนร่วมงาน 4) การเชื่อมโยงข้อมูลไปศึกษาความรู้เพิ่มเติม 5) การสื่อสารระหว่างวิทยากรกับผู้อบรม และ 6) การดาว์นโหลดข้อมูลเพื่อศึกษาเพิ่มเติม ความต้องการฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก หลักสูตรภาพรวมการบริหารการเงินการคลังภาครัฐมีความจำเป็นในการจัดฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด และรูปแบบการฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลการทดลองพบว่า หลังการใช้รูปแบบการฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้อบรมมีความรู้ด้านการเงินการคลังภาครัฐสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม โดยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งภายหลังการฝึกอบรมผ่านไป 12 สัปดาห์ ความรู้ของผู้อบรมยังมีความคงทนอยู่และมีความสามารถในการปฏิบัติงานสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้อบรมมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชูชัย สมิทธิไกร. (2556).การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ.พิมพ์ครั้งที่ 8. จำนวน 2,000 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Knowles, M. S., (1975). Self – Directed Learning : A Guide for learners and teachers. Parsippany : Globe Fearon.
Gagne, R. M. & Briggs, L. J. (1988). Principle of Instructional Design. New York: Holt
Khan, B. H. (1997). Web based instruction. Englewood Cliffs, NJ: Educational Technology.
สุมาลี สังข์ศรี. (2556). การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2) นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช.
จรัสศรี รัตตะมาน. (2551). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รณภร จันทร์ลอย. (2557). การพัฒนาสื่อระบบออนไลน์เพื่อพัฒนาสมรรถนะหลักพนักงานธนาคารออมสิน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Womble, J.C. (2008). [Online]. E-learning: The relationship among learner satisfaction, self-efficacy, and usefulness. [Retrieved August 16, 2014]. from http://jaabc.com/brcv10n1 preview.html