ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการคิดเชิงนวัตกรรม

Main Article Content

นายสุรศักดิ์ สุวุฒโฑ
ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์

บทคัดย่อ

ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  รูปแบบการคิดเชิงนวัตกรรม และผลการดำเนินงาน ของพิพิธภัณฑ์ในบริบทประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ได้แก่ 1. ศึกษารูปแบบการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการคิดเชิงนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย 2. ศึกษาอิทธิพลการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการคิดเชิงนวัตกรรมที่มีผลต่อการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย การวิจัยนี้กำหนดแนวทางการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทำการสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 320 ตัวอย่าง และตรวจสอบยืนยันผลการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก สำหรับประชากรการวิจัย ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยตามฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัด การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  รูปแบบการคิดเชิงนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ และทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง ระหว่างทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ตัวแปรด้านการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  รูปแบบการคิดเชิงนวัตกรรม มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ ความสัมพันธ์ทางตรงและความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย โดยตัวแปรแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ทางตรงและความสัมพันธ์เชิงบวกซึ่งกันและกัน นอกจากนี้แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างของ การสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการคิดเชิงนวัตกรรม และผลการดำเนินงานมีความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์   ผลการวิจัยนี้ยังชี้ให้ผู้ที่ทำงานด้านพิพิธภัณฑ์ของประเทศไทยเข้าใจถึงความสำคัญของการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการคิดเชิงนวัตกรรม และผลการดำเนินงานในบริบทของพิพิธภัณฑ์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นายสุรศักดิ์ สุวุฒโฑ, บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

นักศึกษาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ) สาขาวิชาการจัดการตลาด  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา     

ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ) สาขาวิชาการจัดการตลาด  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

References

จิรา จงกล. (2532). พิพิธภัณฑสถานวิทยา.กรุงเทพมหานคร. อัมรินทร์ พริ้นติ้ง

Albers, J. A., & Brewer, S. (2003). Knowledge Management and the Innovation Process: The Eco-Innovation Model. Journal of Knowledge Management Practice, 15, 403-422.

Dewhirst, T., & Davis, B., 2005. Brand strategy and Integrated Marketing Communication (IMC): A Case Study of Player's Cigarette Brand Marketing. Journal of Advertising, Vol. 34 (4), 81.

Weiss, S. Davic and Legand, P. Claude. (2011). Innovative Intelligence. Ontario: John Wiley & Sons Canada, Ltd.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2549) ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

Bass, B. M. Leadership and Performance beyond Expectations. New York: Free Press, 1985.

Shamir, B., House, R. J., and Arthur, M. B. “The Motivational Effects of Charismatic Leadership.” Organizational Science, 4 (1993): 577-59

สุดารัตน์ เหลาฉลาด. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจภายใน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในงานกับพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ. บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (การบริหารการพยาบาล), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Shimp (2000). Advertising, Promotion and Supplemental Aspects of Integrated Marketing Communications. 5th ed. Orlando, FL: Dryden Press.

Kotler, Philip and Keller. (2009). Marketing Management. 13th ed. New Jersey : Prentice-Hall.

Clinton, 0. L. (2010). Coaching for better results: Key practices of high performance leaders. Industrial and Commercial Training Gainsborough, 42(1), 98-114.

Kalevi, K., & Jaana, S. (2008). Strategic options-based framework for management of dynamic capabilities in manufacturing firms. Journal of Manufacturing Technology Management Bradford, 18(8), 966-975.

Graeme, T. (2010). The art and science of experiential leadership: Culture at the core of process change success. The Journal of Business Strategy, 31(4), 75-78.

Yoshida, M. (2009). Engagement consumers through innovation: measuring event innovativeness in spectator sports. Dissertation Florida State University.

Gil, R. B. & Andres,E. F. & Salinas, E. M. (2007). Family as a source of consumer-based brand equity. Journal of Product & Brand Management. 16(3), 188-199.

Burnett, J. & Moriarty, S. (1998). Introduction to marketing communication: An Integrated Approach. New Jersey: Prentic-Hall.

Yoo, B. & Donthu, N. (2002). Testing cross-cultural invariance of the brand equity creation process. The Journal of Product and Brand Management. 11(6), 380.

Madhavaram, S. & Badrinarayanan, V. & McDonald, R. E. (2005). Integrated Marketing Communication and Brand Identity as Critical components of brand equity strategy. Journal of Advertising. 34(4), 69-80.

Villarejo-Ramos, A. F. & Sanchez-France, M. J. (2005). The impact of marketing communication and price promotion on brand equity. Journal of Brand Management. 12(6), 43.

Tong, X. (2006). Creation of Brand Equity in the Chinese clothing marketing. Dissertation. University of Missouri-Columbia.