การพัฒนารูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

Main Article Content

จิตรา จันทราเกตุรวิ
อัจฉรา วัฒนาณรงค์
นรา สมประสงค์
ราชันย์ บุญธิมา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น      2) สร้างรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น  3) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาไปปฏิบัติ และ 4) ทดลองใช้รูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จากความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  2) สร้างรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ตามแนวคิดและหลักการการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น (โมโนซุคุริ) โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ 3) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติ จากความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยใช้แบบสอบถาม และ 4) ทดลองใช้รูปแบบการจัดสหกิจศึกษาด้านการจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากสหกิจศึกษา โดยสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากแบบสอบถาม  ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นว่าด้านการจัดองค์กรประสานงานสหกิจศึกษา และด้านการจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากสหกิจศึกษามีการดำเนินงานในระดับปานกลาง  ส่วนด้านการจัดหลักสูตรและกิจกรรม สหกิจศึกษามีการดำเนินงานในระดับมาก  2) รูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ตามแนวคิดและหลักการการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น (โมโนซุคุริ) จากการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญมีองค์ประกอบ 3 ด้านได้แก่ ด้านการจัดองค์กรประสานงานสหกิจศึกษา ด้านการจัดหลักสูตรและกิจกรรมสหกิจศึกษา และด้านการจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากสหกิจศึกษา  3) การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นว่าโดยรวมและในแต่ละด้านมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ 4) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ด้านการจัดกิจกรรมต่อเนื่องพบว่า อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา/อาจารย์นิเทศก์สหกิจศึกษาและเจ้าหน้าที่ศูนย์สหกิจศึกษาฯมีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุดและสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนพนักงานพี่เลี้ยง/ผู้นิเทศก์/ผู้นิเทศก์งานสหกิจศึกษาของสถานประกอบการและนักศึกษาสหกิจศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากและสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จิตรา จันทราเกตุรวิ, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา  

นิสิตการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา  

อัจฉรา วัฒนาณรงค์, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา  

รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา  

นรา สมประสงค์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา 

รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา 

ราชันย์ บุญธิมา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์ ดร. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

จักรพงษ์ พวงงามชื่น. (2556). คู่มือการฝึกอบรมวิธีการจัดหลักสูตรสหกิจศึกษาให้แก่คณาจารย์กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ประยุกต์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. (2555). [ออนไลน์]. แนะนำสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. [สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2555]. จาก http://www.tni.ac.th/web/tni2012-th/ index.php?

สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2552). มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา. นครราชสีมา. สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษดา วิศวธีรานนท์. (2551). [ออนไลน์]. Monotsukuri Concept, the Art of Japanese Manufacturing: วัฒนธรรมการผลิตแบบญี่ปุ่น. [สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2555], จาก http://www.tni.ac.th/gallery/ krisadaSIT/ monotsukuriTNI.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). [ออนไลน์]. แผนการดำเนินการส่งเสริมสหกิจศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555. [สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2555]. จาก http://www.mua.go. th/users/bphe/ cooperative/

Kolb David. (2012). [online]. David Kolb’s learning styles model and experiential learning theory (ELT). [Retrieved November 5, 2012]. From http://www.businessballs.com/kolblearningstyles.htm

Lombardi, M. (2007). [online]. Authentic learning for the 21st century: an overview. [Retrieved September 17, 2012]. From http://net.educause.edu/ ir/ library/pdf/eli3009.pdf

Herrington, J., & Kervin, L., (2007). [online]. Constrictivism & Technology/ Authentic learning. [Retrived May 30, 2013]. From https://en.wikibooks.org/ wiki/Constructivism_%26_Technology/ Authentic_Learning

อลงกต ยะไวทย์. (2549). การพัฒนารูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี จากผลการเปรียบเทียบสมรรถนะกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาอุดมศึกษา. คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉราพร โชติพฤกษ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการอุดมศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.