การวิเคราะห์องค์ประกอบนิสัยอุตสาหกรรม สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

ณัฐพงษ์ โตมั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบนิสัยอุตสาหกรรม สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าสาขาวิชา ครูผู้สอน เจ้าของสถานประกอบการ และหัวหน้าแผนกหรือหัวหน้างานของสถานประกอบการต่าง ๆ จำนวน 446 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบแบบแวริแมกซ์ (Varimax) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า นิสัยอุตสาหกรรม สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่สำคัญมี       8 ประการ เรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1) ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับงานและผู้ร่วมงาน และการให้ความสำคัญกับลูกค้า 2) ความมีวินัย และรับผิดชอบ 3) ความสามารถในการทำงานเป็นหมู่คณะได้อย่างประหยัดและปลอดภัย 4) ความโปร่งใส เสียสละ และการงดเว้นจากอบายมุข 5) ความใฝ่รู้ 6) ความอดทน 7) ความคิดสร้างสรรค์ และ8) ความละเอียดรอบคอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ณัฐพงษ์ โตมั่น, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2557). [ออนไลน์]. แผนพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ วาระเร่งด่วน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ.2557 – 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559]. จากhttps://www.rmutt.ac.th/download/20140326-planning.pdf.

ประกาศจังหวัดชลบุรี. (2558). [ออนไลน์]. หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำของจังหวัดชลบุรี ระดับอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2558. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559]. จากhttp://www.chonburi.go.th/Portals/0/CHON/Chonburi%20Education%20Model/หลักสูตรฯอาชีวะ.pdf.

สำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2555). คู่มือประกอบการฝึกนิสัยอุตสาหกรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. กรุงเทพมหานคร : กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.

ดวงนภา มกรานุรักษ์. (2554). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2554-2564). วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. (2553). [ออนไลน์]. การเตรียมคนก่อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม (กิจกรรมพัฒนานักศึกษาจบใหม่ให้พร้อมทำงานในภาคอุตสาหกรรม) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559]. จากhttp://www.eng.rmutk.ac.th/ download/20100107/l2_info.pdf.

สำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2547). เอกสารประกอบ การฝึกกิจกรรมสร้างเสริมนิสัยอุตสาหกรรม.กรุงเทพมหานคร : กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2547). ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ว่าด้วยการฝึกเตรียมเข้าทำงาน.กรุงเทพมหานคร : กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก. (2539). ชุดวิชาการเสริมสร้างนิสัยอุตสาหกรรม หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2539. กรุงเทพมหานคร : กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ.

วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค). (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. คุณลักษณะนิสัยอุตสาหกรรม 10 ประการที่นักศึกษาพึงรู้. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559]. จาก https://e-org.e-tech.ac.th.

วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์). (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. นิสัยอุตสาหกรรม 9 ประการ.[สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559]. จาก http://dve.bkf.ac.th/industrial.php.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. หลักสูตรการฝึกอบรม การปฏิบัติงานในอุตสาหกรรม Auto-Part. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559]. จาก http://techno.pnru.ac.th/Tech%20Center/

Training%20AutoPart%20(Autosaved).pdf.