พื้นฐานอากาศพลศาสตร์ของปีกตรง

Main Article Content

ทศพร สุนทรเภสัช

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอหลักการพื้นฐานทางอากาศพลศาสตร์ของปีกตรง ซึ่งเป็นรูปทรงปีกแบบพื้นฐานของอากาศยานความเร็วต่ำทั่วไปในปัจจุบัน โดยปีกตรงมีคุณสมบัติทางอากาศพลศาสตร์พื้นฐานเช่นคล้ายกับแพนอากาศแต่การไหลผ่านปีกนั้นเป็นการไหลแบบสามมิติซึ่งแตกต่างจากการไหลผ่านแพนอากาศที่เป็นสองมิติ จึงทำให้ค่าตัวแปรทางอากาศพลศาสตร์ คือ สัมประสิทธิ์แรงยกและสัมประสิทธิ์แรงต้านมีค่าที่แตกต่างกับแพนอากาศ ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าตัวแปรทางอากาศพลศาสตร์ดังกล่าวได้แก่ รูปแบบของปีก, หน้าตัดของปีก, อัตราส่วนความเรียวและอัตราส่วนความกว้างปีกยกกำลังสองต่อพื้นที่ ซึ่งตัวแปรดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาเสมอในการคำนวณค่าตัวแปรทางอากาศพลศาสตร์ของปีก นอกจากนี้รูปแบบของปีกยังส่งผลต่อรูปแบบของการไหลแยกตัวในสภาวะที่เกิดการร่วงหล่นอีกด้วย ดังนั้นความรู้และความเข้าใจในพื้นฐานอากาศพลศาสตร์ของปีกจึงเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบอากาศยาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

ทศพร สุนทรเภสัช , คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ / ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ / คณะวิศวกรรมศาสตร์ /

   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 

 

References

Raymer D.P. (1992). Aircraft Design: A Conceptual Approach. USA. AIAA Education Series

Anderson J.D. (1999). Aircraft Performance and Design. Singapore. McGraw-Hill.

Shevell R.S. (1988). Fundamental of Flight. 2nd edit. USA. Prentice Hall.

Abbott I.H. Doenhoff A.E.V. (1959). Theory of Wing Sections. USA. Dover Publications.