การศึกษาญาณวิทยาในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค
คำสำคัญ:
ญาณวิทยา, พุทธปรัชญาเถรวาท, ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทโดยอาศัยคัมภีร์ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค ผู้วิจัยได้แบ่งประเด็นที่สําคัญในการศึกษาออกเป็น 3 ประเด็นคือ 1. ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. ญาณวิทยาในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค 3. ญาณวิทยาในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคกับญาณวิทยาในปรัชญาต่างสํานัก ผลจากการวิจัยมีข้อสรุปที่สําคัญ คือ 1. ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นระบบความคิดที่มุ่งทําลายความไม่รู้ (อวิชชา) ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดการเวียนว่าย ตาย เกิด และทําความรู้ (วิชชา) ให้เกิดขึ้นโดยเปลี่ยนแปลงความเห็น (ทิฏฐิ) และพัฒนาจนเกิดความรู้ที่ถูกต้อง กล่าวคือธรรมชาติความรู้ของพุทธปรัชญาเถรวาทมุ่งมองทุกอย่างตามเป็นจริงตามหลักไตรลักษณ์ จนเข้าใจว่าทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่ใช่เกิดขึ้นเอง เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ รวมทั้งเข้าใจสมมติบัญญัติซึ่งอธิบายถึงความจริงในแง่ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ยึดติดกับหลักการจนกลายเป็นความงมงาย แต่ต้องอาศัยการแยกแยะด้วยปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝนอบรม 2. ญาณวิทยาในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคแบ่งความรู้เป็น 2 ระดับ คือ ความรู้ทางโลก (โลกิยะ) และความรู้เหนือโลก (โลกุตตระ) กล่าวคือ ความรู้ระดับโลกิยะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความรู้โดยเริ่มตั้ง
แต่การรับรู้ การจําได้ การรู้แจ้ง จนเกิดความเข้าใจ ส่วนความรู้ระดับโลกุตตระเป็นวิธีการขจัดความไม่รู้ (อวิชชา) ที่เป็นพื้นฐานของความไม่เข้าใจทุกอย่างตามจริง แต่ความรู้ทั้ง 2 ระดับล้วนต้องอาศัยกันและกัน กล่าวคือ ความรู้ระดับโลกิยะมีอยู่ก็เพื่ออธิบายความรู้ในระดับโลกุตตระ ส่วนความรู้ระดับโลกุตตระจะเกิดขึ้นได้โดยอาศัยความเข้าใจความรู้ระดับโลกิยะเพื่อแยกแยะว่าสิ่งใดเป็นความจริงโดย สมมติ และสิ่งใดเป็นความจริงสูงสุด ซึ่งความรู้ทั้ง 2 เกิดจากการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาที่ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา 3. ญาณวิทยาในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคกับญาณวิทยาในปรัชญาต่างสํานัก มีข้อที่สรุป ดังนี้ คือ 1) ญาณวิทยาในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคกับปรัชญาเชนต่างพัฒนาความรู้ผ่านประสบการณ์ไปสู่ความเข้าใจสรรพสิ่งได้ตามจริง ส่วนความต่างกันคือ ปรัชญาเชนมองความรู้ว่า มีความหลากหลาย จึงตัดสินความรู้โดยทั่ว ๆ ไปว่าไม่สมบูรณ์ ความรู้ทุกอย่างจึงถูกต้องทั้งสิ้น แต่ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคถือว่า ความรู้สูงสุดจึงมีอย่างเดียวแต่อธิบายด้วยสมมติหรือทฤษฎีหลายอย่างด้วยกัน 2) ญาณวิทยาในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคกับปรัชญาสางขยะถือว่า ความรู้สูงสุดคือความรู้อันเป็นเหตุดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ส่วนความต่างกันคือ ปรัชญาสางขยะถือว่า ความจริงสูงสุดเกิดจากการรู้แจ้งอาตมันจนไม่หวั่นไหวไปตามอํานาจกิเลส และเป็นระบบปรัชญาที่อาศัยการคิดเป็นหลัก ไม่มีหลักการปฏิบัติที่ชัดเจน ส่วนในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคถือว่าความรู้สูงสุดเป็นการมองทุกอย่างตามจริง เมื่อเข้าใจย่อมหาวิธีปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ 8 3) ญาณวิทยาในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคกับเหตุผลนิยม ปกรณ์วิเสส
วิสุทธิมรรคได้นําเอาหลักการทางเหตุผลมาอธิบายความจริง แต่ความรู้ขั้นเหตุผลยังไม่สามารถทําให้เข้าใจความจริงที่แท้ได้ทั้งหมด เพราะยังขาดประสบการณ์ในการพิจารณา ความรู้ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคจึงเป็นความรู้หลังประสบการณ์ ซึ่งต่างจากเหตุผลนิยมที่เชื่อในความรู้ก่อนประสบการณ์ 4) ญาณวิทยาในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคกับประสบการณ์นิยม ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคยอมรับว่า ผัสสะหรือประสาทสัมผัสเป็นพื้นฐานการรับรู้เบื้องต้น แต่ในระดับสูงขั้นไปต้องอาศัยผัสสะที่เกิดจากญาณที่ประจักษ์แก่ตน ฉะนั้น ความรู้ขั้นผัสสะของประสบการณ์นิยมจึงเป็นความรู้ระดับพื้นฐาน แต่ไม่สามารถโยงไปสู่ความรู้ที่เกิดภายในได้ แต่ความรู้ที่ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคมุ่งหมายเป็นความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการฝึกฝนอบรมภายในเพื่อเชื่อมโยงถึงความรู้ภายนอก
References
บุญมี แท่นแก้ว. (2543). ญาณวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
พระมหามานพ กวิวํโส (นักการเรียน). (2535). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องญาณวิทยาในพุทธปรัชญา” . วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาระวี ติกฺขปญฺโญ (ไกรยะพันธ)์ . (2544). “การศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีความรู้ของพุทธปรัชญาเถรวาทกับเบอร์ทรันด์ รัสเซลล”์ . วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพุทธโฆษะ. (2521). พระวิสุทธิมัคค์ : พระคัมภีร์ประจําครอบครัวชาวพุทธ. แปลโดยพุทธศาสนสมาคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2522). วิสุทธิมรรคแปลฉบับบาลี ภาค 3. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มาลี อาณากุล. (2539). “การศึกษาเปรียบเทียบกรรมฐานในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค และวิธีปฏิบัติกรรมฐานของสํานักวิปัสสนาอ้อมน้อยกับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2543). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.
สนั่น ไชยานุกูล. (2519). ปรัชญาอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุนทร ณ รังสี. (2545). ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร :สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถิต วงศ์สวรรค์. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : บริษัท รวมสาส์น จํากัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์และธุรกิจศึกษา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.