ชุดความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและชนบท
คำสำคัญ:
ความสุขของผู้สูงอายุ, ชุมชนเมือง, ชุมชนชนบทบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสุขของผู้สูงอายุ และเสนอชุดความสุขของผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุในชุมชนวัดนันทาราม ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนเมือง จำนวน 30 คน และผู้สูงอายุในชุมชนบ้านห้วยน้ำริน เป็นตัวแทนของชุมชนชนบท จำนวน 30 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในชุมชนเมืองร้อยละ 53 ทำกิจกรรมที่มีรูปแบบ ในขณะที่ร้อยละ 60 ทำกิจกรรมที่ไม่มีรูปแบบ โดยร้อยละ 57 ทำกิจกรรมที่ทำคนเดียว ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในชุมชนชนบทร้อยละ 50 ทำกิจกรรมที่มีรูปแบบ ร้อยละ 53 ทำกิจกรรมที่ไม่มีรูปแบบ โดยร้อยละ 50 ทำกิจกรรมที่ทำคนเดียว สำหรับกิจกรรมประเภทที่มีรูปแบบของผู้สูงอายุทั้งสองชุมชน คือ กิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรมการออกกำลังกายแบบกลุ่ม โดยปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านครอบครัว ในขณะที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสุขของผู้สูงอายุในชนบทมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพทางสังคมและปัจจัยทางด้านจิตใจ และชุดความสุขของผู้สูงอายุทั้งสองชุมชน ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน สุขภาพ การเงิน และพื้นที่ในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ
References
กนกวรรณ คชสีห์ และ เอกรินทร์ อนุกุลทธธน. (2562). มิติการใช้พื้นที่สาธารณะและบทบาทความเป็นชุมชนดั้งเดิมในเมืองเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฎเชียงใหม่, 20, 1, 5-18.
เกสร มุ้ยจีน. (2559). การสร้างความสุขด้วยจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 24, 4, 673-681.
ปัญญภัทร ภัทรกัณทากุล. (2544). การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทร ถามล. (2554). ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนวัดไชยทิศเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์, หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รศรินทร์ เกรย์, อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, และ เรวดี สุวรรณนพเก้า. (2553). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด, มหาวิทยาลัยมหิดล.
วัชรภัสร์ แชบัว และคณะ. (2560). กระบวนการสร้างพื้นที่ทางสังคมของชมรมผู้สูงอายุเมตตาประชารักษ์ ไร่ขิง: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. Veridian E-Journal, มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10, 1, 1774-1786.
ปัทพร สุคนธมาน. (2557). โครงการการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนผู้สูงอายุ. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุจิตรา สมพงษ์. (2557). ความสุขของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา ในจังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6, 1, 204-218.
สำนักงานสถิติแห่งชาติจังหวัดเชียงใหม่. (2559). สูงวัยเริ่มสูงจริงหรือที่เชียงใหม่. [ระบบออนไลน์]. http://chiangmai.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=507:infographic-old&catid=163&Itemid=598.25
สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (ม.ป.ป.). การเปลี่ยนแปลงและเตรียมตัวเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ.[ระบบออนไลน์]. http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/soongwai/statics/health/prepared/topic001.php.
สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ. (ม.ป.ป.). บทบาทผู้สูงอายุต่อสังคม ครอบครัว ชุมชน. [ระบบออนไลน์]: http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai//statics/about/soongwai/topic006.php.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.