การเรียกร้องสิทธิของคนไร้บ้านในเชียงใหม่ กรณีศึกษาบ้านเตื่อมฝัน

ผู้แต่ง

  • ชนสรณ์ กลิ่นหอม วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ชนาภา แซ่ซี้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ฐานิยา มูลเขียน วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สุดารัตน์ ศรีเพ็ง วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สุนิษา ปานันท์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การเรียกร้องสิทธิ, คนไร้บ้าน, ความเหลื่อมล้ำ

บทคัดย่อ

จากการทำบทความนี้ คณะผู้ศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียกร้องสิทธิของคนไร้บ้านในเชียงใหม่ กรณีศึกษาบ้านเตื่อมฝัน จากสถานการณ์คนไร้บ้านในอดีตจนถึงมีศูนย์พักพิงฯของลุงดำเป็นคนหนึ่งที่ให้ภาพนั้นได้ดี เพราะเขาผ่านสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านของคนไร้บ้านมานานนับสิบกว่าปี จนปัจจุบันกลายมาเป็นคนขับเคลื่อนในประเด็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านหลายคนคงคุ้นชินคำว่า“คนเร่ร่อน” มากกว่า “คนไร้บ้าน” เพราะเป็นคำที่ถูกใช้เรียกบุคคลอาศัยอยู่ตามที่สาธารณะมาก่อนการนิยามคนเหล่านี้ว่าเป็น “คนไร้บ้าน” ซึ่งการเปลี่ยนคำเรียก กินระยะเวลายาวนาน พอๆกับสถานการณ์คนไร้บ้านที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาที่พวกเขาเผชิญ ‘ลุงดำ’  หรือ สุทิน เอี่ยมอิน อดีตคนไร้บ้าน ที่ผ่านสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านของคนไร้บ้านมานานนับสิบกว่าปี จนปัจจุบันกลายมาเป็นคนขับเคลื่อนในประเด็นเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน ลุงดำเป็นคนไร้บ้านมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544 นอนสนามหลวงมาสามปี ผ่านสถานการณ์ที่รัฐไล่จับคนไร้บ้านจนต้องหนีออกไปชานเมืองอยู่บ่อยครั้ง จนท้ายที่สุดเขาตระหนักว่า ตนเองไม่สามารถหนีได้ตลอดชีวิต ประกอบกับมีเครือข่ายสลัมสี่ภาคมาแนะนำเรื่องสิทธิฯ ทำให้เขาเห็นความเป็นไปได้ที่จะช่วยให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงตัดสินใจเป็นตัวแทน นำเสนอปัญหาต่อภาครัฐ องค์กรที่เกี่ยวข้อง

References

พินิตา สุทธภักติ.(2561).การบังคับสิทธิเรียกร้องตามแผนภายหลังการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ.วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์(1), 319-327.

ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร.(2558).ตีความหมายของคำว่า “บ้าน” ของคนไร้บ้าน./วารสารระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรมในงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายในสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมภาย (1),1450-1459.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30