การประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อบริหารผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การบริหารผังรายการสถานีวิทยุ, ผู้สูงอายุ, หลักสัปปุริสธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อการสร้างผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับการบริหารผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อบริหารผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักสื่อสารมวลชน นักประชาสัมพันธ์ นักจัดรายการ และเครือข่ายอาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้านและชุมชน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สำหรับวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการสร้างผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=3.94, S.D.= 0.901) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับการบริหารผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 3) ปัญหาและอุปสรรคคือนักจัดรายการในฐานะผู้ส่งสารขาดเทคนิคการนำเสนอ ดังนั้นแนวทางผู้จัดรายการต้องเตรียมความพร้อม เตรียมข้อมูลในการนำเสนอข่าวสารที่เป็นผลประโยชน์กับผู้รับฟัง ซึ่งผู้สูงอายุมีควาสนใจด้านธรรมะ สุขภาพ กฎหมายเป็นหลัก
References
กองการสื่อสาร ศูนย์โทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมการทหารสื่อสาร. (2567). คู่มือปฏิบัติ (Work Manual) เรื่องการออกอากาศวิทยุกระจายเสียงดิจิตอลระบบ DAB+. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567, จาก https://kmtitc.rta.mi.th/arlon/uploads-doc-content/doc_20240311-151907_kLonbgDBKE.pdf
ณัฐไวภพ ฐณะพงศ์ภักค์ และปรีชา พันธุ์แน่น. (2565). พฤติกรรมการรับฟังและความพึงพอใจจากการจัดรายการรักเพลงไทยทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย คลื่นความถี่ เอ.เอ็ม.837 กิโลเฮิรตซ์ ของผู้ฟังในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(1), 41-49.
บัวผิน โตทรัพย์. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับฟัง การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ฟังที่มีต่อสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เอฟ.เอ็ม.89.75 เมกะเฮิรตซ์. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 10(2), 177-203.
พระสมุห์เจษฎา แดงบำรุง และเสน่ห์ บุญกำเนิด. (2564). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.
ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ และญาศิณี เคารพธรรม. (2560). สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 11(2), 367-387.
วรเวช ศิริประเสริฐสรี, พระครูสุธีคุมภีรญาณ และสุวิน ทองปั่น. (2559). รูปแบบการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 16(1), 14-26.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2563). แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563-2568). สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2565, จาก https://broadcast.nbtc.go.th/radio_info
Marketeer Team. (2565). สถิติผู้สูงอายุปี 2565. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2565, จาก https://marketeeronline.co/archives/272771
Thai PBS. (2562). จ.เชียงใหม่ เตรียมรับมือเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2565, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/286852
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.