การธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามบนฐานแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • อริสา สายศรีโกศล คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กฤตสุชิน พลเสน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม, สุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามบนฐานความคิดทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการธำรงอัตลักษณ์โดดเด่นในเรื่องของความเชื่อ วิถีชีวิต พิธีกรรม ประเพณี โดยได้ปรับเปลี่ยนไปตามวัฒนธรรมชาวไทยพุทธในท้องถิ่นภาคใต้ ดังจะเห็นใน 3 ประเด็นต่อไปนี้ 1. พระพุทธศาสนากับอัตลักษณ์ด้านวิถีชีวิตซึ่งจำแนกเป็นด้านการแต่งกายที่เกี่ยวข้องกับประเพณีสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อบรรพบุรุษ ด้านอาหารที่นิยมนำอาหารเวียดนามไปทำบุญถวายพระ 2. พระพุทธศาสนากับอัตลักษณ์ด้านความเชื่อในพิธีกรรม จำแนกเป็นด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาหิ้งพระและบูชาบรรพบุรุษที่ผสมผสานระหว่างพิธีกรรมดั้งเดิมกับพระพุทธศาสนาที่นิยมทำหิ้งพระเพื่อสักการะบูชาควบคู่กับการบูชาบรรพบุรุษของตน และด้านพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายที่นิยมปฏิบัติตามธรรมเนียมของพระพุทธศาสนา 3. พระพุทธศาสนากับอัตลักษณ์ด้านประเพณี จำแนกเป็นด้านประเพณีการบวชที่นิยมบวชตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ ด้านประเพณีแต่งงานที่บิดามารดาส่งเสริมให้ประพฤติในหลักพระพุทธศาสนาในเรื่องหลักสมชีวิธรรม 4 ประการ ด้านประเพณีสงกรานต์ที่ปฏิบัติตามงานสงกรานต์ของชาวไทยพุทธท้องถิ่นภาคใต้ และด้านประเพณีวันสารทเดือนสิบ (ชิงเปรต) ที่ปรับวิถีการทำบุญเพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว

References

กรมศิลปากร. (2513). นางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์. ธนบุรี: ศิลปาบรรณาคาร.

กฤษณะ ทองแก้ว. (2562). ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม: พลวัตการเปลี่ยนผ่านทางสังคมในเมืองสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(1), 185-211.

ณัจฉลดา พิชิตบัญชาการ. (2533). ปัญหาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในท้องที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2518. (2518, 3 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 92 ตอนที่ 246 ฉบับพิเศษ, หน้า 8-10.

พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พุทธศักราช 2485. (2485, 24 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 59 ตอนที่ 19, หน้า 752-757.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2557). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 33, 35, 37, 47. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

อริสา สายศรีโกศล และกฤษณะ ทองแก้ว. (2562). ความเป็นชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามผ่านมิติวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมในเมืองสุราษฎร์ธานี. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 141-163.

อริสา สายศรีโกศล และสมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์. (2565). การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารปณิธาน, 18(1), 140-168.

อริสา สายศรีโกศล. (2564). การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมและการธํารงอัตลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช.

#JPP

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-24