การมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • กรวิทย์ เกาะกลาง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • ศิริพร เพ็งจันทร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง, ปัญหายาเสพติด , ยุทธศาสตร์ป้องกัน

บทคัดย่อ

เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศไทย ที่ทำให้เกิดผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจสังคม และประเทศชาติปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ทุกคนในสังคมมีหน้าที่ช่วยกันแก้ไขปัญหาสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ของตนเอง และรัฐบาลยังได้มีการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ.2558-2560 ประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ และตามแผนยุทธศาสตร์การมีส่วมร่วมของภาคประชาชนประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น และนำข้อมูลมากำหนดเป็นแนวทางการปรับปรุงแก้ไข คัดเลือกผู้นำที่มีความสามารถ มีความพร้อมที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม มีส่วนร่วมในการออกแบบ แก้ไขร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระตุ้นให้เกิดจิตอาสาเพื่อเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ตั้งวงล้อมคุยกัน แบ่งปันประสบการณ์ สร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความรู้ ดังนั้น การจะแก้ไขปัญหายาเสพติดเกี่ยวข้องกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ หรือตัวประชาชนเอง เราทุกคนมีบทบาทเป็นสมาชิกของสังคม และเป็นพลเมืองของประเทศ ต้องช่วยกันทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมไม่มากก็น้อย พลเมืองจะต้องเป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะ มีจิตสำนึกต่อรัฐ สังคม ประเทศชาติ มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม และเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาด้วยความสมัครใจไม่มีใครบังคับ

References

สุวปรียา จันต๊ะ. (28 มิถุนายน 2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2562, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/243192/164952

สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (10 มีนาคม 2558). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติด. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2562,จาก https://www.oncb.go.th/Home/PublishingImages/Pages/ProgramsandActivities/strategic_plan2558-2560.pdf

สำนักงานวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านสังคม,กรุงเทพมหานคร: สํานักการพิมพ์ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

สายสุดา สุขแสง. (2560). การรูปแบบการเฝ้าระวังในการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดโดยภาคประชาชน กรณีศึกษา ต.สาคร อ.ท่าแพ จ.สตูล และต.ควลนู อ.รัตนภูมิ จ.สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณะสุขภาคใต้. 4 (พิเศษ) , 230-242.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30