ปรัชญาการเมือง: ความรู้ฉบับพกพา

ผู้แต่ง

  • ภาวิดา รังษี อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
  • เชษฐ์ ใจเพชร อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

คำสำคัญ:

ปรัชญาการเมือง, ปรัชญาเบื้องต้น, เดวิด มิลเลอร์

บทคัดย่อ

หนังสือเรื่องปรัชญาการเมือง: ความรู้เบื้องต้น เขียนโดย เดวิด มิลเลอร์ ผู้แปลคือเกษียร เตชะพีระ ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2564 มีเนื้อหา 7 บท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของการศึกษาปรัชญา ด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับแง่มุมต่าง ๆ ทางการเมือง แสดงคำตอบและอธิบายโดยการยกตัวอย่างเชื่อมโยงกับสภาวการณ์ปัจจุบันซึ่งมีความทันสมัย ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงธรรมชาติของการศึกษาปรัชญา มองเห็นภาพรวมของปรัชญาการเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประโยชน์จากการอ่านหนังสือเล่มนี้คือจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจความแตกต่างหลากหลายทางความคิดของคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมการเมือง อย่างไรก็ตาม เนื้อหาภายในบทไม่ได้ทำการแบ่งหัวข้อย่อย แต่ใช้การเขียนเชิงพรรณนา ตั้งคำถามแล้วอธิบายไปเรื่อย ๆ เมื่อได้คำตอบแรกก็ตั้งคำถามต่อไปอีก ผู้อ่านจึงต้องทำความเข้าใจประเด็นต่าง ๆ คิดตาม และสรุปคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งเป็นวิธีการอธิบายในเชิงปรัชญาที่แตกต่างจากการเขียนให้ความรู้แบบอื่น จึงอาจเป็นการยากสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาปรัชญาในการเข้าใจเนื้อหาของหนังสือ

References

เดวิด มิลเลอร์. (2564). ปรัชญาการเมือง: ความรู้เบื้องต้น [Political Philosophy: A Very Short Introduction] (เกษียร เตชะพีระ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: bookscape. (ต้นฉบับตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2003).

ภาวัช อครเปรมากูน. (2562). บทบาทของสหภาพยุโรปและความรับผิดชอบต่อการจัดการปัญหาผู้อพยพในช่วง 2015-ปัจจุบัน, วารสารยุโรปศึกษา, 25(1), 68-109.

สรวิชญ์ วงษ์สะอาด. (2561). ปฐมเหตุแห่งปรัชญาการเมือง, วารสารศิลปะการจัดการ, 2(2), 103-116.สหภาพยุโรป จุดเริ่มต้นจนถึง Brexit. (2564, มกราคม). CPMU news, 6(1), 4-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-17