บทบาทภาวะผู้นำชุมชนท้องถิ่นกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุดเขต สกุลทอง วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

บทบาทภาวะผู้นำชุมชน, การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทภาวะผู้นำชุมชนท้องถิ่นกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำชุมชนท้องถิ่นกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มประชากรสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยใช้เป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า บทบาทภาวะผู้นำชุมชนท้องถิ่นกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทภาวะผู้นำชุมชนท้องถิ่นกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสำหรับข้อเสนอแนะ บทบาทภาวะผู้นำชุมชนแต่ละชุมชนควรต่อยอดสู่เป้าหมายในการสร้างชุมชนเข้มแข็งซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสังคมแห่งการเรียนรู้และให้ชุมชนมีความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและเสริมพลังให้กับชุมชนยึดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). รายงานประจำปี 2561 กรมการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

เกศสุดา โภคานิตย์ และกีฬา หนูยศ. (2559). บทบาทผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(ฉบับพิเศษ), 66-76.

จามรี พระสุนิล. (2563). การจัดการความรู้ทุนชุมชนเพื่อการส่งเสริมการจัดการที่ยั่งยืนของตำบล แม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 37(1), 60-79.

ฐาปนี อินทะโรและคณะ. (2565). บทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการโรคระบาดโควิด-19 กรณีศึกษาบ้านท่าสะท้อน ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(1), 30-46.

ปาณิศา แสงสุวรรณ และคณะ. (2565). บทบาทของผู้นำชุมชนต่อการับมือวิกฤติโรคระบาด COVID-19 กรณีศึกษาตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 3(2), 13-28.

พรรณี หงส์พันธ์. (2556). การจัดรูปแบบยุทธวิธีในการฝึกอบรมผู้นำท้องถิ่นเกี่ยวกับการประนอมข้อพิพาทในเขตจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 32(3), 188-203.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิทักษ์ อำพินธุ์. (2553). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วินิจ ผาเจริญ และคณะ. (2565). บทบาทผู้นำชุมชนท้องถิ่นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโป่งกุ่ม ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(2),1-12.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

สุชาติ ผาสุก และ วัชระ ชาติมนตรี. (2565). ความคิดเห็นของผู้นำชุมชนที่มีต่อการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(1), 21-29.

สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2558). บทบาทของภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการขับเคลื่อนไปสู่ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บบ้านแม่ฮาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 21(3), 20-31.

Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

JPP

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-13