การปรับตัวของชุมชนจากผลกระทบน้ำท่วมรอการระบาย: กรณีศึกษาบ้านนาแฮ่ เมืองสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์
คำสำคัญ:
การปรับตัวของชุมชน, ผลกระทบน้ำท่วมรอการระบาย, นครหลวงเวียงจันทน์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากน้ำท่วมรอการระบายที่บ้านนาแฮ่ เมืองสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์ 2) เพื่อศึกษารูปแบบพฤติกรรมการปรับตัวต่อผลกระทบน้ำท่วมรอการระบาย ของชุมชนบ้านนาแฮ่ โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ จากแบบสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน หน่วยงานเกี่ยวข้องในพื้นที่ หัวหน้าครัวเรือน จำนวน 158 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า น้ำท่วมรอการระบายก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ คือ การหยุดงานเนื่องจากน้ำท่วมถนนทำให้ขาดรายได้ ด้านสุขภาพ คือ มีโรคที่มากับน้ำท่วม ด้านสภาพแวดล้อม คือ การสัญจรลำบาก มีขยะสิ่งโสโครกและน้ำเน่าเสีย ส่วนรูปแบบพฤติกรรมการปรับตัวของชุมชนจำแนกได้เป็นช่วงก่อน ระหว่างและหลังการเกิดน้ำท่วมฯ โดยช่วงก่อนเกิดน้ำท่วมฯ พบว่า พฤติกรรมของชุมชนที่พบสูงที่สุดคือ “ไม่มี” การพูดคุยปรึกษาปัญหาน้ำท่วม และไม่เข้าร่วมประชุมหารือระดับชุมชน ส่วนช่วงระหว่างการเกิดน้ำท่วมพฤติกรรมการปรับตัวที่พบสูงที่สุด คือ การติดตามสถานการณ์ข่าว การใช้ชีวิตบนพื้นที่สูงพ้นน้ำท่วม การใช้ยานพาหนะที่สามารถเดินทางได้ระหว่างน้ำท่วม ส่วนรูปแบบพฤติกรรมการปรับตัวหลังการเกิดน้ำท่วม ที่พบสัดส่วนมากที่สุด คือ ไม่มีการปรับตัวใด ๆ หลังเกิดภัยน้ำท่วม และมีการปรับปรุงหรือทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน ซึ่งลักษณะการปรับตัวของชุมชนถือว่าเป็นการปรับตัวที่เกิดขึ้นเอง ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนร่วมกันระหว่างภาครัฐกับชุมชน และระหว่างสมาชิกชุมชนด้วยกันเอง
References
ชาญชัย เจริญสุข และกาญจนา นาถะพินธุ. (2555). ผลกระทบต่อสุขภาพจากภัยน้ำท่วมและการปรับตัวของประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 1-10.
ดวงมณี ทองคำ,พรพิมล ฉายแสง, กฤติยาภรณ์ คุณสุข, กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล, ปัญญา วงศ์ต่าย, เกรียงไกร ตรีฤทธิวิทยา, ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิช และไพลิน ทองสนิทกาญจน์. (2561). แนวทางการปรับตัวของประชาชนในจังหวัดจันทบุรีทั้งก่อนและหลังเกิดอุทกภัย. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12(2), 177-188.
นัฐศีพร แสงเยือน และศนิ ลิ้มทองสกุล. (2564). ความสามารถในการปรับตัวของชุมชนเมืองมหานครต่อความเสี่ยงของอุทกภัยในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการการออกแบบสภาพแวดล้อม, 8 (2), 75-93.
ราชาวดี ศรีสวัสดี, กันตภณ หนูทองแก้ว และเดชชาติ ตรีทรัพย์. (2562). การปรับตัวของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดอุทกภัยในเขตพื้นที่ตำบลนาเขลียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 4(2), 76-89.
OECD. (11 May 2016). Financial Management of Flood Risk, OECD Publishing, Paris. Retrieved May 3, 2023, from http://dx.doi.org/10.1787/9789264257689-en
Yamane, T. (1970). Statistic: an Introductory Analysis. 2nded. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสันติสุขปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.