การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อการปกครองคณะสงฆ์อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระปลัดธนวัฒน์ อธิปญฺโญ วัดหนองแก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
  • ไพรัตน์ เอิบสำโรง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • ไพวรรณ ปุริมาตร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การประยุกต์หลักพุทธธรรม, การปกครองคณะสงฆ์ไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองคณะสงฆ์ 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองคณะสงฆ์อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) นำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองคณะสงฆ์อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในอำเภอปากช่อง จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองคณะสงฆ์ พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมการตัดสินใจ มีการร่วมกันตัดสินใจในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการวัด ด้านการมีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนา มีการวางแผน การดำเนินงาน ติดตามประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปกครองคณะสงฆ์ พบว่า อายุ อาชีพ การศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนเพศ รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองคณะสงฆ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ 3) การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองคณะสงฆ์อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาตามหลักอปริหายธรรม 7 ได้แก่ มีการประชุมกันเป็นประจำ พร้อมเพรียงกันประชุม ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ เคารพนับถือผู้ใหญ่ ไม่ลุแก่อำนาจ รักสันติภาพ ตั้งใจสนับสนุนคนดี

References

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2547). พระพุทธศาสนากับปัญหาสังคม. ปทุมธานี: สื่อตะวัน.

ปกรณ์ มหากันธา. (2557). รูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, นครปฐม.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบทสถาบันไทยคดีศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระครูพิพิธพัฒนโสภณ (สุบิน สุเมโธ). (2558). รูปแบบการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, นครปฐม.

พระครูสุรัตธรรมเกษม (พิศิษฐ์ ชุติพิพัฒน์กุล). (2554). ความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาททางสังคมของวัดคลองตะเคียน ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยทองสุข, กรุงเทพฯ.

พระธรรมเจดีย์, พระครูปลัดนิเวช ชินวโร และพรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2566). การบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11. วารสารสันติสุขปริทรรศน์. 4(1), 1-14.

พระธวัชชัย จารุธมฺโม (ศรีสุข). (2553). ประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์: กรณีศึกษาวัดในอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, นครปฐม.

พระเพชรณรงค์ ปญฺญาวชิโร (ทองนาค),ชาญชัย ฮวดศรี และสุรพล พรมกุล. (2564). การมีส่วนร่วมของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดชัยภูมิ. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, นครปฐม.

พระมหาพชร กิตฺติวรเมธี. (2564). การมีส่วนร่วมในการวางแผนและปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(6), 98-108.

พระมหาเสกสรรค์ อคฺคจารี (แก้วทรัพย์). (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, นครปฐม.

พระอธิการชรัตน์ ฐิตคุโณ (มีแก้ว). (2554). บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, นครปฐม.

วรเทพ แสงโอภาส, ประเสริฐ ปอนถิ่น และอภิรมย์ สีดาคำ. (2566). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย. 4(1), 1-15.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.

#JPP

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-27