แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ณัฏฐ์ชุดา สามา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรีและ (2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณประชากร จำนวน 162 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 132 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเพชรบุรี ที่จำเป็นมากที่สุดและลองลงมา พบว่า (ก) ควรมีการจัดให้มีการสัมมนาอบรม ให้ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการบริหารงานวิชาการเพื่อให้การบริหารงานวิชาการมีประสิทธิภาพ (ข) ควรส่งเสริมครูผู้สอนมีทักษะด้านการวิจัยที่เน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน(ค)ควรสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคคลหรือกลุ่มคนในหลาย ๆ รูปแบบ (ง) ควรมีการสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผู้เรียนที่มีพื้นฐานความสามารถที่แตกต่างกันและผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา

Article Details

How to Cite
สามา ณ. . (2024). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย, 3(3), 54–66. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JCIM/article/view/5485
บท
Research article

References

เกตกนก สวยค้าข้าว. (2561). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. การค้นคว้าอิสระ. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, นครปฐม.

จิรารัตน์ กระจ่างดี. (2562). การศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยาย โอกาสในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าอิสระการบริหารการศึกษา. ครุศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ทรงพล เจริญคำ. (2565). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ปาริฉัตร โชติขันธ์. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการ

บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2561). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร.ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

มนัสวินี ณรงคชัย, นวัตกร หอมสิน, และพงษนิมิต พงษภิญโญ. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารงาน

วิชาการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในอำเภอ จังหวัดสกลนคร. ปริญญา

ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.การบริหารการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี,

อุดรธานี.

วิมล เดชะ. (2559). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา

ประถมศึกษาสตูล. สารนิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย

หาดใหญ่, สงขลา.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการ ของสถานศึกษาในจังหวัด ชัยนาทสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์บริหารการศึกษา.คณะศึกษาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยารามคำแหง, กรุงเทพมหานคร

หัสภูมิ รักดี. ( 2565 ). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตหาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.