การให้บริการประชาชนตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

Main Article Content

ธิดาลักษณ์ กระจาย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีการวิเคราะห์มุมมองการจัดการภาครัฐแนวใหม่รวมไปถึงทางเลือกที่ในการการให้บริการประชาชนตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย ภายใต้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพราะว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่ยังขาดความเข้าใจในระบบการบริหารจัดการภาครัฐทำให้ประชาชนเกิดอุปสรรคในการติดต่อกับระบบราชการจึงเกิดแนวคิดการบริหารจัดภาครัฐแนวใหม่ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมได้มากยิ่งขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เรียกว่า การให้บริการประชาชนตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี


         ตามกรอบของหลักธรรมาภิบาล (Good  Governance) หรือที่ภาคเอกชนเรียกกันว่า หลักบรรษัทภิบาล (Good Corporate Governance) ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะวิกฤติที่จะมีมาในอนาคต เพราะในสังคมจำเป็นจะต้องมีความยุติธรรม ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ตามเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ เพื่อประสิทธิภาพและเกิดเพื่ออำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองต่อความต้องการ และเพื่อติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
Academic article

References

กรปภัช พงศ์วิพัฒน์โยธิน. (2563). ธรรมาภิบาลกับคุณค่าสาธารณะของพนักงานเทศบาลตำบลบางปู จังหวัด สมุทรปราการ. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

เสาวลักษณ์ สุขวิรัช. (2549). “ทางสองแพร่งของจริยธรรมการบริหาร (The Dilemma ofAdministrative Zeitgeists),” การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสน์ศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 7 (พ.ศ.2549).

ถวิลวดี บุรีกุล และวราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ. (2549). การศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบบริหาร จัดการที่ดี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ลัดดา ผลวัฒนะ. (เมษายน-กันยายน 2557). ธรรมาภิบาลกับการบริหารมหาวิทยาลัย. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 190 – 215.

Campbell, J. P. (1973). Research in to the Nature of Organizational Effectiveness: In Robbins, S. P. (1996). Organizational Behavior: Concepts, Controversies, Applications. 7th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

______. (1990). Organization theory: Structure Design and Applications. 3rd ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Steers, M. R. (1976). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Universityof Oregon, Office of Naval Research, Technical Report # 2.

Schein, E. H. (1968). Organizational Socialization and the Profession of Management. Industrial Management Review, 9(5), 1-6.