แนวทางการบริหารการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารการมีส่วน ร่วมของครูใน สถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารการมีส่วนร่วมของครูในสถาน ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำนวน 92 แห่งได้มาโดยการสุ่มได้มาโดยการสุ่ม แบบแบ่งชั้นโดยใช้อำเภอเป็นชั้น ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูสถานศึกษาละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 184 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นของการบริหารการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 2 เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2. แนวทางการบริหารที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 2 ประกอบด้วย ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
Article Details
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน, และอภิสรรค์ ภาชนะสวรรค์. (2563). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหัวถนนอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 15. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรีแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม The Participative Management. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4(1), 176-187.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2561). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นํา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
เพ็ญพิศ ผาพองยุน. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. Journal of Roi Et Rajabhat University, 11(12), 118-126.
รัถยานภิศ รัชตะวรรณ. (2561). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 11(1), 1: 231-238.
สัมมา รธนิธย์. (2560). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาทสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล. กรุงเทพฯ :
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2564). ประเทศไทยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ :
สุทธิรา เกษมราษฎร์. (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
อับดุลคอเล็ด เจะแต. (2557). กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้าน เกาะสวาด ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อศัวรินทร์ แก่นจันทร์. (2562). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.
Cronbach, L. J. (1978). Essentials of psychological test (5thed.). New York: Harper Collins.
Koontz, H., & Odonnell, C. (2001). Essentials of management. New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Merrill, K. (1989). The technology triangle: Linking farmers. Technology Transfer Agents and Agricultural Researchers, 29(7), 415-417.
Newby, T., Stepich, D., Lehman, J., & Russell, J. (2011). Instructional technology for teaching and learning: Designing instruction, integrating computers, and using media (2nded.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Richardson, A. (1983). Participation. London: Routledge & Kegan Paul.