แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1 เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 19 แห่ง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้น กำหนดผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 7 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน และครูประจำชั้น จำนวน 6 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 133 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ในการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ 3 คือผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) เพื่อจัดลำดับของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านความสามารถทางปัญญา มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือด้านความรู้ และด้านความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงาน ส่วนด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด คือ ด้านบุคลิกภาพ (2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถทางปัญญามี 4 วิธีดำเนินการย่อย ด้านความรู้มี 4 วิธีดำเนินการย่อย ด้านความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงานมี 4 วิธีดำเนินการย่อย และด้านบุคลิกภาพมี 4 วิธีดำเนินการย่อย
Article Details
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรวิภา งามวุฒิวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมภายในสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : อมรการ.
ฐานะมาศ หาดยาว. (2564). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(7), 268-281.
มนัญชยา ควรรำพึง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(3), 17-32.
รัตนาภรณ์ ชูรา, และสถิรพร เชาวน์ชัย. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), 280-294.
วรกฤต ศิรธนิตรา. (2563). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 69-79.
ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2559). การจัดการความขัดแย้งในองค์การอย่างสร้างสรรค์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 193-208.
สมศักดิ์ กิจธนวัฒน์. (2545). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมโดยใช้หลักการจัดกิจกรรมตามแนวมนุษยนิยมและการเพิ่มพลังศักยภาพบุคคลของแอนโทนี่ร็อบบินส์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). ว20/2564 แนวปฏิบัติการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว13/2556 (กรณีทบทวน). กรุงเทพฯ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570). เอกสารประกอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13. กรุงเทพฯ
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์.
Cronbach, N. J. (1978). Psychometric theory (2n ed.). New York: McGraw-Hill.
Dubrin, A. J. (2012). ESSENTIALS OF MANAGEMENT. Mason: SouthWestern Cengage Learning. Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3),607–610.