ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตการศึกษาพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพรรณนาอุปสรรคและแนวทางแห่งความก้าวหน้าของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 (2) เพื่อระบุปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับความก้าวหน้าของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำนวน 6 คน และผู้บริหารการศึกษา จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถามเชิงลึกด้วยคำถามแบบมีโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า (1) ความก้าวหน้าของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 สามารถก้าวหน้าในชีวิตการทำงานได้ในระดับหนึ่งเนื่องจากโครงสร้างของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ นั้น มีการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งไว้จำกัด โดยเฉพาะการเข้าสู่ตำแหน่ง ผูกพันด้วยวุฒิด้านการศึกษา ทำให้ไม่สามารถครองตำแหน่ง ระดับสูงได้ด้านการพิจารณาความดีความชอบ ระบบการประเมินยังคงมีระบบอุปถัมภ์ (2) ปัจจัยที่มีผลสำหรับความก้าวหน้าของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1พบว่า ปัจจัยด้านความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้รับบริการ และด้านการเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่หน่วยราชการอื่น ๆ มีความต้องการในทุกระดับการศึกษาเป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชลิดา ศรมณี และพูนศรี สงวนชีพ. (2526). การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2547). แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1 เอกสารประกอบการสอน
ชุดวิชาการบริหารงานบุคคลภาครัฐ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บังอร โกศลปริญญานันท์ และพรรณี ศรีวานิชย์พุฒิ. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะครูผู้สอนของนักศึกษา
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. เข้าถึงได้จาก
https://app.northbkk.ac.th/research_/themes/downloads/abstract/1571136390_abstra
ct.pdf, กรกฎาคม 2566.
เบ็ญจา สวัสดิโอ. (2539). การบริหารงานบุคคล. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดวงพร อุไรวรรณ. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการธำรงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาล
เมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบาย
สาธารณะและการจัดการภาครัฐ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2562. (23 ธันวาคม 2547). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 121/ตอนพิเศษ 79 ก หน้า 22.
เศรษฐชัย ชัยสนิท และมาลัย ม่วงเทศ. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โสภณ.
สิทธิกร สุทธิประภา และศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครูศูนย์การศึกษา
พิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. การศึกษามหาบัณฑิต.
สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
อมรเทพ คำเพชร. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานครู ในสถานศึกษาที่
ถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม
มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), หน้า 100 – 112.
Herzberg, B. M. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley and sons.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality. New York: Harper and Row.