เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดสงขลา 20 ปี (พ.ศ. 2566 – 2585) non

Main Article Content

สุระพรรณ์ จุลสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการประชาชนและศักยภาพของจังหวัดสงขลา และ (2) จัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดสงขลา 20 ปี (พ.ศ.2566-2585) ซึ่งเป็นดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 โดยการสำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามจากประชาชนในจังหวัดสงขลา จำนวน 310 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ และรับฟังความคิดเห็นจากการจัดเวทีประชาคมและการประชุมกลุ่มย่อยจำนวน 4 ครั้งกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดทำผลการศึกษาตามกรอบของคณะอนุกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ด้านวิชาการ กฎหมาย และการบูรณาการแผนงานโครงการกำหนดไว้


ผลการศึกษา พบว่า (1) ประชาชนมีความคิดเห็นว่าจังหวัดสงขลามีศักยภาพ 5 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม ด้วนการท่องเที่ยว ด้านเกษตรกรรม ตามลำดับ และ (2) เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดสงขลา 20 ปี (พ.ศ.2566-2585) กำหนดเป็น “สงขลา ศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียน มหานครน่าอยู่ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยมีแผนงานที่สำคัญประกอบด้วย (1) แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (2) แผนการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป (3) แผนการพัฒนาผู้ประกอบการ SME และ startup เพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขัน (4) แผนงานยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง (5) แผนงานยกระดับสงขลาให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการบริการสุขภาพของภูมิภาคอาเซียน (6) แผนยกระดับด้านการศึกษา (7) แผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน และ (8) แผนพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ

Article Details

บท
Research article

References

กัมลาศ เยาวะนิจ, ภิศักดิ์ กัลยามิตร, เอก ศรีเชลียง, ดรุณศักดิ์ ตะติยะลาภะ และไททัศน์ มาลา. (2561). การกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 22-33.

จังหวัดสงขลา. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา พ.ศ.2566-2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ.2567). สงขลา: สำนักงานจังหวัดสงขลา.

ดำรงค์ วัฒนา. (2566). การจัดทำยุทธศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 12 มิถุนายน 2566 จาก researchgate: https://www.researchgate.net/profile/Damrong-Wattana/

ธนภูมิ ปองเสงี่ยม และ วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2558). แผนยุทธศาสตร์การท่องเทียวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารอารยธรรมศักษา โขง-สาละวิน, 6(2), 95-112.

ธัญวรัชย์ แซ่เต้ง. (2558). การพัฒนายุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการกลุ่มสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในเขตอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 7(2), 144-160.

ประภาส ไชยมี. (2559). ยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(2), 168-182.

พีรธร บุณยรัตพันธุ์. (2566). การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยี่สิบปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

วิชยานนท์ สุทธโส. (2563). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน กรณีศึกษาเขตการค้าชายแดน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 11(2), 152-160.

วิรงรอง แก้วสมบูรณ์, สุธิดา วรโชติธนัน, คัดคนางค์ ศรีพัฒนะพิพัฒน์, รุจิรา หมื่นทอง, กษมา นับถือดี, เขมพรรษ บุญโญ, สรยา ศิริเพชร, สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค, สำนักป้งกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์, และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2561). การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แหล่งชาติ (พ.ศ.2560-2564). วารสารควบคุมโรค, 44(1), 50-62.

สมบูรณ์ โอฬารกิจเจริญ. (2559). แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัดหนองบัวลำภู. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 16(2), 139-174.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). การจัดทำเป้าหมายจังหวัด 20 ปี เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2555). การจัดทำแผนยุทธศาสตร์: กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 10(1), 26-38.

เสมอ แสงสนธ์, สุนทรี ดวงทิพย์ และ ปาจรีย์ ผลประเสริฐ. (2559). ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเยาวชน โดยชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22(1), 107-118.