การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

สภา ไชยสัตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ (1) เพื่อสำรวจการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (4) เพื่อพยากรณ์รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่อำเภอหัวหิน และเทศบาลเมืองหัวหิน จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุดและรายได้สุทธิต่อเดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ  สามารถพยากรณ์รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ร้อยละ 87.5

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559 – 2568. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ณัฐพล ลีลาวัฒนาพันท์. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2566 จาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7622.

ตุนายา เพชรสง, ชมพูนุช จิตติถาวร และผกามาศ ชัยรัตน์. (พฤษภาคม 2564). ศักยภาพการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพัทลุง. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation,7(5), 269 – 280.

ธงชัย สันติวงษ์. (2537). องค์การและการบริหาร. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช

ลา มหาพสุธานนท์. (2547).หลักการจัดการและการบริหาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาพร จันทร์ฉาย. (2558). ประสิทธิภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จากนโยบายภาครัฐสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น กรณีศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (มกราคม - มิถุนายน 2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(1), 31 – 50.

ปทิตตา ตันติเวชกุล. (เมษายน - มิถุนายน 2546). โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาบริการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ. จุลสารการท่องเที่ยว, 22(2), 48 – 53.

พงษ์เทพ จันทสุวรรณ. (2553). ประสิทธิผลองค์กรปฏิบทแห่งมโนทัศน์. กรุงเทพฯ: วารสารร่มพฤกษ์. 28 (3), 133

ภัทรวดี รังสิมานพ. (2564). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษาอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการการท่อเที่ยวและบริการแบบบูรณาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ชนินทร์ อยู่เพชร และคณะ. (2555). การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรนารถ ดวงอุดม. (มกราคม - มิถุนายน 2557). ความสามารถในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยนาท. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 1(1), 35 – 53.

วรรณา วงษ์วานิช. (2550). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศินภา รัตนยอดกฤษ. (2558). ประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี, ปทุมธานี.

สมศักดิ์ มกรมณเฑียร และคณะ. (มกราคม - เมษายน 2559). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 9(1), 82 – 96.

Global Wellness Institute. (2015). 2013 & 2014 The Global Wellness Tourism Economy. United States, Florida: Global Wellness Institute.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.