การจัดการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สำนักงานที่ดินในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรองรับการเป็นหน่วยงานอิเล็กทรอนิกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินการจัดการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สำนักงานที่ดินในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมที่ดินเพื่อรองรับการเป็นสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สำนักงานที่ดินในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมที่ดิน จากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากร และ (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สำนักงานในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมที่ดิน เพื่อรองรับการเป็นสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์กับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร เพื่อรองรับการเป็นสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 348 คน ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างตามโครงการ สังกัดสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย (1) ด้านการจัดการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สำนักงานที่ดินในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมที่ดิน เพื่อรองรับการเป็นสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ด้านการจัดการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร สำนักงานที่ดินในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมที่ดิน เพื่อรองรับการเป็นสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากรด้านอายุราชการ ระดับการศึกษา สถานภาพ และตำแหน่ง (3) ด้านการจัดการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานที่ดินในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมที่ดิน เพื่อรองรับการเป็นสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร สำนักงานที่ดินในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมที่ดิน เพื่อรองรับการเป็นสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ พรนภา เตียสุธิกุล และบุญทัน ดอกไธสง. (2561). ปัญหายุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 8(1). หน้า 91-102
ขจรศักดิ์ ศิริมัย. (ม.ป.ป). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมรรถนะ, เอกสารประกอบแนวทางการพัฒนาระบบสมรรถนะเพื่อพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคล. คณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร,1-4.
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สำนักงาน. (2549). การศึกษาภาพรวมผลการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหาร. อัดสำเนา.
จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพมหานคร: ก.พลพิมพ์ (1996).
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
พรสวัสดิ ศิรศาตนันท์. (2555). ภาวะผู้นำทางการศึกษา . จันทบุรี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลของ องค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 38-50.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2551). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน
Bohlander, G., Snell, S. & Sherman, A. (2010). Managing human resources. New York: SouthWestern College.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W H Freeman/Times Books/ Henry Holt & Co.
Boyatizis, R.E. 1982. The Competent Manager. New York: McGraw-Hill.
David C. McClelland, (1973). “Testing for Competence Rather than Intelligence”. American Psychologists. 28 (1), p. 1-14.
Mitrani, A., Dalziel, M., and Fitt, D. (1992). Competency based human resource management: Value driven strategies for recruitment, development, and reward. London: McGraw-Hill.
Spencer, M and Spencer, M.S. (1993). Competence at work: Models for Superiors Performance. New York: John Wiley & Sons.
Louis A. Allen. (1958). Management and organization. New York: McGraw-Hill Inc.