ประสิทธิผลการบริหารจัดการสถานพยาบาล เรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการสถานพยาบาล เรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารจัดการสถานพยาบาล เรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการบริการและประสิทธิผลการบริหารจัดการสถานพยาบาล เรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 330 คน ได้แก่ ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย (1) ด้านระดับประสิทธิผล พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านการเปรียบเทียบประสิทธิผลจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคคลากรที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลแตกต่างกัน และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการบริการและประสิทธิผลพบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมราชทัณฑ์. (2562). รายงานผลการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์.
กองบริหารการสาธารณสุข. (2562). แนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สมุทรสาคร : บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.
ชัชวาล เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ธงชัย สันติวงษ์. (2537). องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
พัชรินทร์ โต๊ะบุรินทร์. (2548). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร . มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2545). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2013). ระบบสุขภาพ. สืบค้นจาก https://www.hsri.or.th/researcher/ classroom/detail/4741
สมคิด บางโม. (2542). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานพิมพ์บรรณกิจ.
Gibson, J.H., John, M.I. & James H.D. (1982). Organizations : Behavior structure and
Processes. (4th ed.), Austin, TX : Business Publications.
Koontz, H. & C. O’Denell. (1982). Principle of Management : An Analysis of Management
Function. 5th ed. New York : McGraw-Hill.
Lawiess, J. (1979). The development of self-concept in adolescence. New York, NY: Academic Press.
Stoner, J. A., Jr., & Freeman, D. R. (1992). Management (5th ed.). London: Prentice Hall International
Seashore, S. E., & Yuchtman, E. (1967). The elements of organizational effectiveness. New York, NY: McGraw-Hill.
Zamuto, R. F. (1982). Assessing organizational effectiveness: Systems change, adaptation, and strategy. Albany, NY: State University of New York Press.