แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมวิชาการเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมวิชาการเกษตร เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมวิชาการเกษตร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมวิชาการเกษตร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร จำนวน 280 คน โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในระดับสูง จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าตัวแปรทางด้าน อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และบรรยากาศองค์การ มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรทางด้าน เพศ ไม่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการเกษตร. (2560). หนังสือรายงานประจำปี 2560. กรมวิชาการเกษตร.กรมวิชาการเกษตร.
กิตติ กาญจนภูพิงค์. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมราชองครักษ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นงลักษณ์ ฉิมเรือง. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มูลนิธิวัชระดวงแก้ว. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นันทา นิ่มอนงค์. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร: กรณีศึกษาสำนักการลูกเสือยุวกาชาด และกิจการนักเรียนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุษบา เชิดชู .(2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ ขลุง จังหวัดจันทบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน.มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิ่นฤทัย ประดิษฐ์ศิลป์. (2551) .ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยบรรยากาศองค์การกับความตั้งใจที่จะอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2556). วิธีและเทคนิควิจัยทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.
ศุภรัตน์ เทพทอง. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Deci, E. L., & Ryan, R. M. (2000). The dark side of goal setting. American Psychologist, 55(1), 4-13.
Freud, S. (1923). The ego and the id. Standard Edition of the Complete Psychological Works of Sigmund Freud, 19(1923), 1-66.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley.
James, L.R. and A.P. Jones. (1974). Organizational climate, a review of theory and research. n.p.: Psychological Bulletin.
Locke, E. A., & Latham, G. P. (2002). Building a practically useful theory of goal setting and task performance. American Psychologist, 57(9), 705-717.
Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370-396.
McClelland, D. C. (1975). Power: The inner experience. Irvington.