ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนะต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ พลเดช
วิรัตน์ ธรรมาภรณ์
ละมุล รอดขวัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทัศนะต่อการใช้อำนาจของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนะต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 4) ศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้บริหารและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 302 คน จากการเทียบตามตารางสำเร็จรูปของของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเรื่องการใช้อำนาจขอผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครู และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จากการนำแบบสอบถามไปใช้จริง เท่ากับ .943 และ .931 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ครู มีทัศนะต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) ครูมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับดี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนะต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีความสัมพันธ์ในทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001   โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .806 และ 4) ปัญหาพบว่าบางส่วนเกิดจากการใช้อำนาจที่ไม่เหมาะสมของผู้บริหาร มีการประชุมเพื่อหารือน้อย ทำให้การวางแผนในการทำงานต่างๆ และการมอบหมายงานไม่มีความชัดเจน ผู้บริหารยึดความคิดตัวเองเป็นหลัก ไม่ได้รับฟังครูตามภาพรวม ทำให้ครูไม่กล้าเสนอ และตัดสินใจ

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก https://www.moe.go.th.

กานต์ลดา สายนุ้ย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนะต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

จริยวตี ศรีทิพย์อาสน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา กับขวัญ และกำลังใจของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2552). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์.

ณัฐนันท์ วิริยาธนาโชติ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปิยวรรณ งามสง่า. (2564). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เมธินี ทองสุกใส. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตนเรศวร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ศรินยาพร วงษ์ขันธ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ 4. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุพานี สฤษฏ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Burnette, N. P. (1993). “A descriptive study of the power based used by North Carolina principals.” Dissertation Abstracts International. 53(1), 2173-A.

French, J. R. P., & Raven, B. H. (2001). The Bases of Social Powe Group Dynamics. New York, N.Y.

Harper & Row. (1960). : quoted in Hoy, Wayne K. and Cecil G. Miskel. Educational Administration : Theory Research and Practice. Boston: McGraw-Hill.

Ringrose C. K. (1977). An exploratory study of the relationship between the teacher’s the management systems of their school, and selected characteristics of the principals. Dissertation Abstracts International.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York : John Wiley.