ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของเทศบาลตำบลในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

Eaknirun Junngam

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐของเทศบาลตำบลในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐของเทศบาลตำบลในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐกับความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐของเทศบาลตำบลในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (4) เพื่อวิเคราะห์ความสามารถของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพยากรณ์ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 162 คน สุ่มจากข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างโครงการ สังกัดเทศบาลตำบลในอำเภอบางสะพาน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลทำการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐของเทศบาลตำบลในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมาก

  2. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐของเทศบาลตำบลในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่มีความแตกต่างกัน

  3. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐของเทศบาลตำบลในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐของเทศบาลตำบลในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01

  4. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐของเทศบาลตำบลในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ร้อยละ 83.7

Article Details

บท
Research article

References

โกวิทย์ พวงงาม (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ดำรง วัฒนา และคณะ (2559). (ม.ป.ป.). บทความวิชาการเรื่อง ระบบการบริหารจัดการท้องถิ่น. โครงการศึกษาเบื้องต้นเรื่อง ระบบการบริหารจัดการท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เปรมศักดิ์ เพียยุระ (2558). การบรรยายพิเศษ: การปกครองท้องถิ่นไทย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ยุทธพร อิสรชัย (2557). ปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://www. thairath.co.th เมื่อ 1 เมษายน 2565.

วีระศักดิ์ เครือเทพ (2558). คุยกับดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ ผู้เปิดข้อมูลความเสี่ยง “หนี้ท้องถิ่น”. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565 จาก http://www.isranews.org/thaireform.

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2553). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2553-2554 Criteria for Performance Exellence 2553-2554. กรุงเทพฯ: ศิวา โกลด์ มีเดีย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) .(2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ พ.ศ. 2564 – 2565. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565 จาก https://www.opdc.go.th/content/NzI2Ng.

อุดม ทุมโฆสิต (2553). การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: แซท โฟร์ พริ้นติ้ง.

อุดม ทุมโฆสิต, จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์ และจำลอง โพธิ์บุญ (2548). ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความสำพันธ์ ระหว่างองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นกับราชการบริหารส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่นด้วยกันเอง. กรุงเทพฯ: นิด้า.

Robert Waterman, Tom Peter and Julien Phillips. (1980). In search of Excellence. United State, Industrial management.