ภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

หิรัญ เจริญแล้ว
ชนมณี ศิลานุกิจ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิด                 ภาวะผู้นำที่ยั่งยืนตามแนวคิดของ Hargreaes, A. & Fink, D เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 291 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้โรงเรียนเป็นชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                 การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า
          1. ระดับภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก    2. ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา                         โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน                                                                                      3. ครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา             โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน                                                                                             4. ครูที่ปฏิบัติงานในขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research article

References

กัญญภัค จุฑพลกุล และทัศนะ ศรีปัตตา. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(10)

เกษร เกษมชื่นยศ. (2563). การพัฒนาคนไทยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน.วารสารจันทรเกษมสาร, 26(1)

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. (2564). SDG GUIDEBOOK คู่มือการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566, จาก http://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet

จรุงจิต สมบัติวงศ์. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา.Journal of Roi Kaensarn Academi, 3(2)

ชยากร เลิศอังกูร. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนในธุรกิจแว่นตาขนาดเล็กแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชัชวาล แก้วกระจาย และวิชิต แสงสว่าง (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3)

ธีรศักดิ์ (อุปรมัย) อุปไมยอธิชัย. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นพพล ศุภวิทยาเจริญกุล และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยสกลนคร, 22(6)

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2563). การศึกษาที่ยั่งยืน. วารสารพัฒนาทักษะวิชาการอย่างยั่งยืน, 2(3)

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พลนวัติ ศรีสูงเนิน และจักรกฤษณ์ โพดาพล. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 7(2)

พัชราภรณ์ สิทธิสถิตย์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร.การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พา อักษรเสือ และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2562). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหาร สถานศึกษาเอกชน สังกัด สำนักงานการศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น.วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3)

มีชัย ศรีคูณ. (2562). ความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 : กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 1(6)

มูลนิธิมั่นพัฒนา. (2562). สืบสานสู่ปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : บริษัท ส.พิจิตรการพิมพ์ จำกัด.

เรืองเดช ภูโบราณ. (2562). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบยั่งยืนที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลดารชา วิชญปรีดากร และศิลป์ชัย สุวรรณมณี. (2560). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้สถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วสันต์ ศักดาศักดิ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืนกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

วีระศักดิ์ บุญญดิษฐ์ และคณะ. (2564). การศึกษาที่ยั่งยืน. วารสารมหาจุฬาตานีปริทรรศน์มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 3(6)

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2563) .ผู้นำ นักบริหารกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564) .รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2559 – 2563. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ : บริษัท ซีดี มีเดีย ไกด์ จำกัด.

สุทธิพงษ์ ตาสาโรจน์ และพระครูวิจิตรปัญญภรณ์. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1(2)

สุนทรีพร อำพลพร และคณะ. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสาร มจร บาฬีพุทธโฆสปริทรรศน์,1(8)

สุนทรีพร อำพลพร และคณะ. (2564). สังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสาร มจร บาฬีพุทธโฆสปริทรรศน์,7(4)

สุวิตรา บุญแจ้ง . (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาการศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,

สุวิเลิศ คำอุ่นสาร และคณะ. (2565). ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยสกลนคร, 41(11)

อภิชญา จะเรียมพันธ์ และสงวน อินทร์รักษ์. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2(11)

อภิชญา ลิงเพ็ชร และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำที่มีคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2(9)

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Andrew J. DuBrin (2020).Leadership : research findings, practice, and skills .Boston, MA : Cengage

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Resesrch methods in education (7thEd.) NewYork : Routledge

Gorton.R (2007) .School Leadership Administration. United States.

Hargreaves, A. & Fink, D. (2006). Sustainable Leadership. San Francisco

UNESCO-ACEID. (1997). Educating for a Sustainable Future : A Trans disciplinary

Vision for Concerted Action. Report of the Third UNESCO-ACEID International Conference, Bangkok Thailand.

Wayne, V., & Polly, C.(2011). Sustainable Leadership : Linking Theory and Practice.

SSRN Working Paper Series, 21 October 2011

World Commission on Environment and Development. (1987). Our common future.

Oxford, Great Britain: Oxford University Press.