การพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

สุภัสสร อินทร์แสง

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้(1)เพื่อศึกษาระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์(2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน และ(3)เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 910 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


       ผลการวิจัยพบว่า(1)ด้านระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง(2)ด้านการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตาม วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และ (3)ด้านแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลควรมีการวางแผน(Plan) ลงมือปฏิบัติ(Do) การตรวจสอบ(Check) และการปรับปรุง (Act)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กามนิต ใบภักดี. (2563). แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

เบญจพร สุคนธร. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพมหานคร.

ปริวัฒน์ ยืนยิ่ง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชธานี, อุบลราชธานี.

วันชัย ราชวงศ์. (2562). ภาวะผู้นำสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา แห่งประเทศไทย, 1(3), 25 - 31.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการ และ เทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 353 - 360.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2566–2570). เข้าถึงได้จาก: http://www.sesaopkn.go.th/sesaopk/img/file/O466-70.pdf.

อนุชา โสมาบุตร. (2563). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด. เข้าถึงได้จาก:https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/learning-and-innovation-skills/.

อรชร ปราจันทร์. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2(1), หน้า 157.

Ekanem, A. (2016). The Power of Positive, Creative and Innovative Thinking. Retrieved from: https://www.amazon.com/Power-Positive-CreativeInnovativeThinking/dp/1542667968.

Horth, D. & Buchner, D. (2014). Innovation Leadership: How to Use Innovation to Lead Effectively, Work Collaboratively, and Drive Results. San Diego: The Center for CreativeLeadership