ประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1

Main Article Content

ธาวิน เรืองวิเศษ

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์(1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 (2)เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียนการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD
       ผลการวิจัย (1)ประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1)ด้านการบริหารงานวิชาการ 2)ด้านการ บริหารงบประมาณ 3)ด้านการบริหารงานบุคคล และ 4)ด้านการบริหารงานทั่วไปโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการบริหาร งบประมาณ รองลงมาคือด้านการบริหารงานทั่วไป (2)ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศ ของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 จำแนกตามวุฒิ การศึกษา ประสบการณ์และขนาดโรงเรียน พบว่าบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์และขนาดโรงเรียนต่างกันมีประสิทธิภาพการใช้ ระบบสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตยชญา แรงเขตกิจ. (2558). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน จังหวัดอุทัยธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชา การบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

การ์สิณี ฐิติกรประภาพงศ์. (2558). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตในการจัด กระบวนการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วารสารวิชาการศิลปกร, 8(3), 1-13.

จันทิมา ศรีเมือง. (2558). การใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารโรงเรียนภาครัฐสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรีเขต1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2560). การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ สูตร Yamane, จาก. http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf.

พิชญาณี กาหลง. (2563). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2),. 149-162.

ทิพวัลย์ นนทเภท. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สุทธิรา เกษมราษฎร์. (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 4 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภาวดี สาระวัน. (2562). เทคโนโลยีกับสะเต็มศึกษา, สืบค้นเมื่อวันที่20 ธันวาคม 63. https://www.scimath.org/article-stem/item/9103-2018-10-18-08-35-19

สมจิตร ขวัญแดง. (2560). สภาพปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษา สังกัด เทศบาลนครหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย หาดใหญ่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1. (2563). สรุปข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา ปีการศึกษา 2563. สุพรรณบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1.