ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารความเสี่ยงในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2และ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 289 คน ได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า(1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารความเสี่ยงในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา ได้แก่ ด้านนโยบายและการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ด้านการสื่อสารและการจัดการข้อมูล ด้านการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านวัฒนธรรมภายในองค์กรต่อการบริหารความเสี่ยง ด้านการจัดการโครงสร้างหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงและด้านการใช้เทคโนโลยี
Article Details
References
กรรณิการณ์ พงศ์กิตติธัช. (2553). สภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราช
ภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.
กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2554). การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพมหานคร: เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
ณัชธิมา ปัทมทัตตานนท์. (2553). การจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ณัฐิยา มงคลสวัสดิ์. (2553). การพัฒนามาตรวัดความสำเร็จของระบบการบริหารความเสี่ยงขององค์กร.
สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2552). คู่มือการประกันคุณภาพ
การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2553 (สำหรับหน่วยงานการเรียนการ
สอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรินทร์ ขำวงษ์. (2554). การบริหารความเสี่ยงงานการเงิน บัญชีและพัสดุของสถานศึกษาภาครัฐแห่ง
หนึ่ง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ลักษณ์พิมล ทินกร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงและคุณภาพการ
ให้บริการของสถานศึกษาภาครัฐ ในกรุงเทพมหานคร. บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี
มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
วันชัย คำหน่อ, หยกแก้ว กมลวรเดช, และมานี แสงหิรัญ. (2564). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ
บริหารความเสี่ยงด้านงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
วิวัฒน์ ตู้จำนงค์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, ปทุมธานี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). (2552). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการ
พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สำหรับส่วนราชการระดับ
กรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2552). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-
. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2550). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: สำนักงาน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แผนการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สุมนมานต์ อมรมุนีพงศ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาด้านบริหารงาน
วิชาการ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
อัจฉราวรรณ สุขสมสิน. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงในทรรศนะ
ของผู้บริหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการ
บัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.