ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ยุทธนา สิทธิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร


การวิจัยนี้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงปริมาณประเภทการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlational research using correlation analysis) โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จำนวน 226 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะของการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม และทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ตามลำดับ 2) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยการคิดอย่างเป็นระบบมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา บุคคลที่รอบรู้ เรียนรู้เป็นทีมมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และมีแบบแผนความคิด ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีคู่ที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ทักษะด้านการสื่อสารกับมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน รองลงมา ทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลกับมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ทักษะด้านการสื่อสารกับมีแบบแผนความคิด ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติมา ใจปลื้ม, นิลาวัลณ์ จันทะรังสี, อัมพล เจริญนนท์, เริงวิชญ์ นิลโคตร, และวัยวุฒิ บุญลอย. (2564). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 46-60.

ไกรราช ตั้งเมธารักษ์. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

จิราพรรณ เสียงเพราะ. (2561). การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระ มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ณิกัญญญา สายธนู. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมีเขต 5. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นฤมล จิตรเอื้อ เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และนลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์กรสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นุษรา โพธิ์พัฒนชัย. (2564). การศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต หนองแขม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาวิทยาลัยครูสุริยเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญส่ง กรุงชาลี. (2561). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

พรปวีณ์ ไกรบำรุง และคณะ. (2565). รูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1.สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 9(2), 119-131.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วราพร บุญมี, และพิมผกา ธรรมสิทธิ์. (2563). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราช ภัฏอุตรดิตถ, 172-182.

สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร (2563). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ พจน์กล่องกระดาษ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ:พริกหวาน กราฟฟิค.

สุวัฒน์ กู้เกียรติกาญจน์,วิชิต แสงสว่าง. (2563). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 68 – 80

อมรรัตน์ เตชะนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

Likert, R.. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.