การพัฒนาการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3

Main Article Content

ธิดาทิพย์ กิจสุวรรณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยได้แก่ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3 (2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3 การศึกษานี้ดำเนินการโดยวิธีวิจัยแบบผสมผสานโดยเก็บข้อมูลจากได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 322 คน โดยวิธีแจกแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3 รวมทั้งหมดจำนวน 14 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3 ภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางพัฒนาการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3 ประกอบด้วย 1. ด้านการวางแผนการ 2. ด้านการบริหารงานบุคคล 3. ด้านการจัดการเรียนการสอน 4. ด้านการบริหารงานวิชาการ 5. ด้านการวัดและประเมินผล 6. ด้านวัสดุอุปกรณ์ 7. ด้านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง นโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ :กระทรวงศึกษาธิการ.

กลุ่มสารสนเทศ. (2566). ส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. สุราษฎร์ธานี :กระทรวงศึกษาธิการ.

โกสินทร์ พูลสวัสดิ์และชนมณี ศิลานุกิจ. (2564). สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร สถานศึกษาโรงเรียนกลุ่ม 1 – 2 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิตรา พันพิพัฒน์และคณะ. (2564). กลยุทธ์การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 และ 2. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

จิราภรณ์ มีสง่าและอิศรา รุ่งทวีชัย. (2561).การศึกษาสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผลทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชัยยา บัวหอม(2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของบุคลากรโรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยา.

รายงานการวิจัยโรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยาอำเภอน้ำเกลี้ยงจังหวัดศรีสะเกษสำนักการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

โนรีย์ ทรัพย์โสภณ. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคลากรของสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชมณ สระแก้วและคณะ. (2560). ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 32. การบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พัชรินทร์ ไชยบุบผา, กฤษณา คิดดี, ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. (2564). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การใช้คำสั่งภาษาโลโก้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอรัญประเทศ. Journal of Industrial Education, 14(3), 252-258.

พิมล โชติธนอธิวัฒน์. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม. ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญนภา สุขเสริมและอภิรักษ์ ชาญศึก. (2564). ศึกษาปัญหาการบริหารจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเทศบาลเมืองชัยภูมิ. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ไพบูลย์ วงค์เมืองคำ, ภูมิ พิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 52-63.

ลลิตา วิมูลชาติ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

วนิดา ทองพูล. (2564). การศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของผู้เรียนทุกช่วงวัย กรณีศึกษาของต่างประเทศและประเทศไทย. กรุงเทพฯ กระทรวงศึกษาธิการ.

สุนันทา สมใจ. (2561). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 350-363.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-618.