ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ จานวน 294 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ และคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านทรัพยากรทางการศึกษา และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ปัจจัยด้านทรัพยากรทางการศึกษา ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านหลักสูตร และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ร่วมกันพยากรณ์คุณภาพผู้เรียนได้ร้อยละ 76.60
Article Details
References
กมลนัทธ์ นะราวงศ์, วิชัย วงษ์ใหญ่, ศรุดา ชัยสุวรรณ และสงวนพงศ์ ชวนชม. (กันยายน-ธันวาคม 2560). แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. ชุมชนวิจัย, 11(3), หน้า 40–52.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กิตติมา มั่นคิด และประณีต วิบูลยประพันธ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), หน้า 18-19.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), หน้า 1342-1353.
ฐิติกาญจน์ คงชัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพกำรปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, เพชรบุรี.
ปภาวี ตั้งดวงดี. (2559). คุณลักษณะของครูกับประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนกรณีศึกษาโรงเรียนประถมส่วนขยายแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพาณิชยศาสตร์และ การบัญชีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ปรมาภรณ์ อ่อนนุ่ม. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรำ เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.
พงษ์ศักดิ์ ศิริโอภา, พจนีย์ มั่งคั่ง และอังคณา กุลนภาดล. (มกราคม-มิถุนายน 2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), หน้า 107-122.
พจนีย์ มั่งคั่ง. (2560). ทฤษฎี หลักการและกระบวนการทัศน์ในการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.
พรทิพย์ เบาสูงเนิน, ศรุดา ชัยสุวรรณ, กรองทิพย์ นาควิเชตร และสมบูรณ์ ตันยะ. (2560). ตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(3), หน้า 32-39.
พระมหานันทพงษ์ ญาณกวี (ศรีโยธา) และสุรินทร์ ภูสิงห์. (ตุลาคม-ธันวาคม 2564). การมีส่วนร่วมใน การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(4), หน้า 14-21.
ไพรินทร์ ขุนศรี. (2559). แรงจูงใจของครูกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ไพศาล วรคา. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
วราภรณ์ ลวงสวาส. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร., 6(1), หน้า 242-245.
วัชรินทร์ ยศรุ่งโรจน์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33. พิฆเนศวร์สาร, 13(1), หน้า 106-109.
วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สายใจ ศรีสุวรรณ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, เพชรบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุกัญญา จัตุรงค์ และอภิชาต เลนะนันท์. (มกราคม–เมษายน 2559). การบริหารหลักสูตรที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคใต้ กลุ่ม 7. สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), หน้า 1473–1478.
สุพัตรา ขันทอง. (2562). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อเทตยา แก้วศรีหา, กระพัน ศรีงาน และโกวิท วัชรินทรางกูร. (กรกฏาคม-ธันวาคม 2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสารวิจัยและพัฒนา, 10(2), หน้า 57-66.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.