การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอปราณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอปราณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 (2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอปราณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 โดยจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาของอำเภอปราณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอปราณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอปราณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอปราณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 เพศต่างกัน การบริหารสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า การบริหารสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และขนาดสถานศึกษาต่างกัน การบริหารสถานศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details
References
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2557). เทคโนโลยกีารบริหารการศึกษา. เข้าถึงได้จาก
drkanchit.com/general_articles/articles/general_24.html, 5 ธันวาคม 2565.
จารุรัตน์ ปลื้มชัย. (2561). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 7(25), หน้า 283-292.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
พิชามญฐ์ แซ่จัน. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.14(2), หน้า 33-50.
พินิจ เครือเหลา. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม ภาควิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2561. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1), หน้า 268-282.
ระพีพรรณ คณาฤทธิ์. (2554). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วันวิสา ยังช่วย. (2556). หลักการบริหารการศึกษา. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/349868, 8 ธันวาคม 2565.
สมรภูมิ อjอนอุ่น. (2557). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดตาก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38 วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
สมพร เทพสิทธา. (2550). การดําเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนและแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สมชายการพิมพ์.
อาธิป ปัญญาประเสริฐ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษากรมศุลกากร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.