การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

นฤมล อ่อนท้วม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และเพื่อเปรียบเทียบการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต1 จำแนกตามปัจจัยทางประชากรศาสตร์ โดยดําเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากข้าราชการครูในสถานศึกษา จำนวน 301 คน โดยวิธีการคำนวณตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ และสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ


ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 25-29 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 -25,000 บาท ปฏิบัติงานในฝ่ายวิชาการ และปฏิบัติงานมามากกว่า 3 ปี ไม่เกิน 6 ปี (2) ระดับความคิดเห็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ (3) ข้าราชการครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2543). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธา วิทยาจังหวัดสุพรรณบุรี. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นงคราญ ศุกระมณี. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมือง. กาญจนบุรี : คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

น้ำผึ้ง หมุดเพชร. (2556). พฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสองภาษาระดับประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.

พรเทพ เหมรานนท์. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี.

มานิตา สุทธิหา. (2556).การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนประถมศึกษา อําเภอบางปะกง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

วีระศักดิ์ วงศ์อินทร์. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎรําไพพรรณี, จันทบุรี.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

สุรินทร์ แก้วมณี. (2558). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมขององค์คณะบุคคลเพื่อส่งเสริม ประสิทธิภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2546). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

อัศวรินทร์ แก่นจันทร์. (2562). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนสังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

Cohen, J. M and Uphoff, T. N. (1977). Rural development participation: concepts and measures for project design, implementation and evaluation. New York: Cornell University.

Khan, S., Nawaz, A. & Jan, F. (2012). Impact of demographic diversities on the job satisfaction and Its consequences: case of academicians in higher learning institutions of Pakistan. Retrieved from https ://www.researchgate.net

Taro Yamane. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York : Harper & Row.