คุณธรรมในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามเจตคติของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อทราบระดับคุณธรรมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามเจตคติของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาตามเจตคติของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน การศึกษานี้ดำเนินการโดยวิธีเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำนวน 267 คน โดยวิธีแจกแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) คุณธรรมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามเจตคติของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) ผลการเปรียบเทียบคุณธรรมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาตามเจตคติของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ผู้บริหารที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีคุณธรรมในการบริหารสถานศึกษาในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาน้อมนาศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมกิจการศึกษา.
ไชยพร เรืองแหล้. (2556). บทบาทของสถานศึกษาในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
ดรุณี โอวจริยาพิทักษ์ และคณะ. (2557). การศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา กรณีศึกษานักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพมหานคร.
ทวีศักดิ์ และคณะ. (2564). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8. 27 มีนาคม 2564. หน้า 465-473. นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประยงค์ แสนบุราณ. (2557). หลักธรรมในการปกครองของพระพุทธศาสนา. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 30(3), 144-150.
พระครูประโชติจันทวิมล (นาม จนฺทโชโต). (2555). การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
พระมหามงคล สารินทร์, เรือเอกอภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์ และสมชาย เทพแสง. (2556). การบริหารงานตามแนวพุทธธรรม. วารสารบริหารการศึกษา มศว., 10(19), หน้า 84-88.
เมธี นาอุดม. (2563). การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
วิไลลักษ์ มั่งสมบูรณ์. (2554). การใช้หลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท อ่างทอง และอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2550). มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน.
สถาบันพระปกเกล้า. (2556). ธรรมราชา. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.
สุริยพล ตนภู. (2561). คุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ตามเจตคติของครูผู้สอนกลุ่มโรงเรียนอำเภอสันติสุข ตามหลักสังคหวัตถุ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
อภิรักษ์ สุจริตจันทร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามหลักทศพิธราชธรรม ภาวะผู้ตามที่มีความกล้าหาญ และพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.