บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ (2)เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามเพศ ประสบการณ์สอน และวุฒิการศึกษา ประชากร ได้แก่ ครู จำนวน 1,378 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูจำนวน 301 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่ สถิติทดสอบ t-test
ผลการวิจัยพบว่า (1)บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และด้านทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และ (2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามเพศ ประสบการณ์สอน และวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กรรณิกา ไผทฉันท์. (2556). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการเรียนรู้ อำเภอด่านมะขามเตี้ย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุชาวดี พรหมเสน. (2557). ศึกษาสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
อิสมาแอล เจะเล็ง. (2557). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
อุบลรัตน์ ปัจฉา. (2557). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูอําเภอเคียนซา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ดวงกมล กิ่งจําปา. (2555). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมงานเทคโนโลยีทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภัคจีรา สุนอุ่น. (2556). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาเขตอําเภอเมืองสระแก้ว สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
เฉลิมพร วนาสันติสุข. (2555). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนอําเภอนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุพรรณา เพ็ชรรักษา และสมเกียรติ กอบัวแก้ว. (2558). 21st Century ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษใหม่. [Online]. เข้าถึงได้จาก http://supannapetraksa.blogspot.com/[2560, มกราคม 6].
เอกชัย พุทธสอน. (2556). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สําหรับนักศึกษาผู้ใหญ่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนีย์ ชัยสุขสังข์. (2557). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาพรรณ เส็งวงศ์. (2550). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
Metiri Group. (2003). Engauge 21st Century Skills For 21st Century Learners. [Online]. Available. http://www.metiri.com/21/Metiri-NCREL21stSkills.pdf. [2559, December 17]