การจัดกิจกรรมทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ด้านการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ด้านการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัยโดยจัดกิจกรรมทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะสมอง EF ด้านการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย–หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ห้อง 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนม่วงสามสิบ (อำนวยปัญญา) จำนวน 22 คน เด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดกิจกรรมทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 15 นาที รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 24 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบทดสอบทักษะสมอง EF ด้านการกากับตนเองของเด็กปฐมวัยจำนวน 12 ข้อ แผนการจัดกิจกรรมทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 24 แผนกิจกรรมทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ จำนวน 24 กิจกรรม
ผลการวิจัยพบว่า (1.) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะสมอง EF ด้านการกำกับตนเอง โดยการจัดกิจกรรมทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์มีพัฒนาการทักษะสมอง EF ด้านการกำกับตนเองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.) ทักษะสมอง EF ด้านการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.09 หลังการ
จัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.04 แสดงให้เห็นว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์มีคะแนนทักษะสมอง EF หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัญญารัตน์ ชูเกลี้ยงและคณะ. (2562). การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ขวัญฟ้า รังสิยานนท์และคณะ. (2562). คู่มือครูและผู้ปกครอง การเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เพอลังอิ พับลิชซิ่ง (ประเทศไทย).
นันทา โพธิ์คํา. (2563). ทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 710.
นันทา โพธิ์คำและคณะ. (2564). การพัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยคู่มือการจัด 6 กิจกรรมหลัก สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน2565).
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).
ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล. (2561). ดนตรีกับทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ. วารสารสาขาดนตรีศึกษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 11(2), 1778.
พิมลักษณ์ อัศวพลังชัย. (2560). ทักษะ EF (Executive Functions) คืออะไรในเด็กเล็ก. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565 จากเว็บไซต์ https://moneyhub.in.th/article/executive-functions/
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 5.
ศศิพันธุ์ เปี๊ยนเปี่ยมสินและคณะ. (2561). เอกสารประกอบการเรียน การศึกษาปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
สุภาวดี หาญเมธี. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด คู่มือสำหรับครูอนุบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊คส์ บริษัท รักลูก กรุ๊ป จำกัด กลุ่มบริษัทอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป).
สุภาวดี หาญเมธีและคณะ. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน).