วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij <p><strong>วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ Journal of Interdisciplinary Buddhism</strong><strong> </strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการและบทวิจารณ์หนังสือที่เป็นภาษาไทยและมีข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะที่เป็นนวัตกรรม รวมถึงความคิดริเริ่มที่มีผลกระทบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติในวงกว้าง อีกทั้งยังมุ่งหมายที่จะเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ และสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการศึกษา การสอน โดยเน้นสาขาวิชาพระพุทธศาสนา การบริหารการศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการชุมชน รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ </p> <p>วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ ได้เริ่มจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ พ.ศ.2566 หมายเลข ISSN 2822-1222 <span style="font-size: 0.875rem;">(Online) </span></p> th-TH <p><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">1. <span lang="TH">เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</span></span></p> <p><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">2. <span lang="TH">บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ก่อนเท่านั้น</span></span></p> journal.rabij@gmail.com (ผศ.ดร.อัครเดช พรหมกัลป์) journal.rabij@gmail.com (ดร.รัตติยา เหนืออำนาจ) Tue, 01 Apr 2025 00:32:03 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทวิจารณ์หนังสือ พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์นักสู้ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3252 <p>บทวิจารณ์หนังสือ “พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์นักสู้” ของนายแพทย์ วิบูล วิจิตรวาทการพบว่า ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมีแนวคิดที่จะถ่ายทอดเรื่องราว ตอน 1 เชิดชูพระเชษฐาธิราช นักประวัติศาสตร์ไทยมักสรรเสริญสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าปราสาททอง ว่าเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ มีความคิดก้าวหน้าเปิดหน้าต่างกรุงสยามสู่โลกภายนอก แต่แท้จริงงานนี้เริ่มขึ้นมาแล้ว ตั้งแต่ในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ตอนที่ 2 เป็นการกำจัดพระศรศิลป์ ตอนที่ 3 เป็นการประหารชีวิตพระเชษฐาธิราช ตอนที่ 4 เป็นการกำจัดยามาดู่แข่งญี่ปุ่น ตอนที่ 5 เป็นการกำจัดพระอาทิตยวงศ์ และตอนที่ 6 ตอนสุดท้ายกล่าวถึงการกวาดล้างญี่ปุ่นออกจากกรุงสยาม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการต่อสู้เพื่อสยามประเทศของเรา</p> พระครูสมุห์สุขเกษม สุขเขโม (โรจน์เพงศ์เกษม), พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3252 Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700 กัลยาณมิตรธรรม : หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูที่ทรงประสิทธิภาพ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/972 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากัลยาณมิตรธรรม : หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูที่ทรงประสิทธิภาพ พบว่า ครูเป็นทั้งผู้ให้และแบบอย่างที่ดี มุ่งให้การอบรม สั่งสอนและพัฒนาเยาวชนให้เจริญก้าวหน้าเติบใหญ่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามมาตรฐานสากล ทั้งเก่ง ดี มีปัญญา มีคุณธรรม และอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข ครูจึงเป็นผู้เคร่งครัดในการประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยยึดถือการปฏิบัติตนตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียม และแบบแผน อันดีงามของสังคม มีความซื่อสัตย์ สุจริต ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยัน อดทน พร้อมอุทิศเวลาให้แก่ราชการยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรม และยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขในพระพุทธศาสนาได้มีหลักธรรมที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นครูดีไว้ที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม 7 ประการ คือ ความน่ารัก น่าเคารพ น่ายกย่อง รู้จักพูด รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ มีความอดทนต่อถ้อยคำ มีการกล่าวชี้แจงและแถลงเรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งได้ ครูที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูที่ดี มีความสง่างามน่าเลื่อมใส</p> พระครูสิทธิวชิรโสภิต, พระครูวชิรคุณพิพัฒน์, พระโกศล มณิรตนา Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/972 Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการสอนสังคมศึกษาในยุค Next Normal https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/1180 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสอนสังคมศึกษาในยุค Next Normal พบว่า หลังวิกฤติการณ์โลก กรณีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สถาบันการศึกษาต้องเตรียมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ เพราะเมื่อ มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น มักจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตหลังจากนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ผู้เรียน ไม่ได้ไปโรงเรียน เมื่อผู้เรียนเรียนรู้อยู่ที่บ้าน ครูควรใช้ความตระหนักรู้ที่เกิดขึ้น มาออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้ตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน และตอบโจทย์รูปแบบการศึกษาในยุค Next Normal ได้แก่ การเรียนในห้องเรียน รูปแบบการสอนแบบผสมผสาน รูปแบบการสอนแบบใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ทั้งนี้ ครูผู้ซึ่งถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาในยุค Next Normal จะต้องเตรียมตนเองให้มีความพร้อมในด้านองค์ความรู้และการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งในยุค Next Normal นั้น การออกแบบการจัดการเรียนรู้ควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตและสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ สร้างผู้เรียนให้เป็นนวัตกร ที่มีองค์ความรู้อย่างลึกซึ้ง ฝังแน่นและคงทน กล่าวคือ เป็นผู้รู้จริง รู้ชัด นำไปประยุกต์ใช้สร้างนวัตกรรมแห่งอนาคตได้</p> เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/1180 Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวพุทธ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/1133 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวพุทธ พบว่า พระพุทธศาสนาเรียกได้ว่าเป็นศาสนาแห่งปัญญา ที่เน้นย้ำในเรื่องหลักประกันของชีวิตที่ดีงาม โดยมีองค์ประกอบ 2 องค์ประกอบ ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับในการศึกษา ได้แก่ การแสวงแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี หรือกัลยาณมิตตตา และความฉลาดคิดแยบคายให้ได้ประโยชน์และความจริง หรือโยนิโสมนสิการ กล่าวได้ว่า การเป็นกัลยาณมิตรของนักเรียนนั้น ต้องพัฒนาให้นักเรียนมีโยนิโสมนสิการหรือการรู้จักคิด คิดเป็นตามแนวปัญญา เพราะโยนิโสมนสิการจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการศึกษา และการพัฒนาชีวิตที่ดีและทันต่อกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการอยู่ร่วมกันของคนหมู่มากในสังคมจะต้องอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ และหลักธรรมที่สามารถช่วยได้นั้น คือ หลักของไตรสิกขาซึ่งเป็นหลักธรรมที่สามารถส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ขณะเดียวกันผู้เรียนยังสามารถนำหลักธรรมดังกล่าวนั้นกลับมาพัฒนาชีวิต หรือประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ได้ตามหลักและเป้าหมายที่ต้องต้องการ ไม่ว่าจะเป็นในด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย รวมถึงด้านจิตใจ</p> บุญสืบ ยังเจริญ, พระมหาอุดร อุตฺตโร (มากดี) Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/1133 Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย ในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/1031 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตยในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .835 กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 300 คน จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 1,194 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตยในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.23, S.D. = 0.54) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม กับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r = .470**) และ 3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า (1) ขาดการแจ้งข้อมูลข่าวสารของชุมชนอย่างทันท่วงทีและทั่วถึง (2) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง (3) ผู้ปกครองท้องที่จัดทำโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชน ไม่ตรงกับความการของประชาชน (4) ผู้ปกครองท้องที่ไม่มีข้อมูลมอกพอในการประเมินผลโครงการและขาดความรู้ในการประเมินผลโครงการนั้น ๆ ข้อเสนอแนะพบว่า (1) ผู้ปกครองท้องที่ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมวิเคราะห์ กลั่นกรองปัญหาในการประชุมทุกครั้ง (2) ผู้ปกครองท้องที่ควรแจ้งข้อมูลข่าวสารของชุมชนอย่างทันท่วงทีและทั่วถึง (3) ผู้ปกครองท้องที่ควรเชิญชวนและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้าไปมีร่วมในการทำกิจกรรมของชุมชนด้วยกัน</p> พระมหาหน่อทราย รตนเมธี, สายัณห์ อินนันใจ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/1031 Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปฏิบัติตนตามข้อตกลง กติกา และหน้าที่ในครอบครัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3260 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปฏิบัติตนตามข้อตกลง กติกา และหน้าที่ในครอบครัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ใช้ระเบียบวิจัยประเภทวิจัยเชิงทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการทดลอง 18 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปฏิบัติตนตามข้อตกลง กติกา และหน้าที่ในครอบครัว โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ย 32.10 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้ 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปฏิบัติตนตามข้อตกลง กติกา และหน้าที่ในครอบครัว มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 26.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.22 และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 34.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.12 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปฏิบัติตนตามข้อตกลง กติกา และหน้าที่ในครอบครัว อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /><em> =</em> 4.19, S.D. = 0.72)</p> สวิตา วิชาธร, เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์, พิสมัย รบชนะชัย พูลสุข Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3260 Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง พุทธประวัติ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดเกยไชยเหนือ “ประชานุกูล” อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3282 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดีย เรื่องพุทธประวัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง พุทธประวัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พุทธประวัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง พุทธประวัติ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดีย มีประสิทธิภาพโดยรวม (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) 83.33/86.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนสื่อมัลติมีเดีย พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.45, S.D. = 0.17)</p> อรยาวดี มาศขาว, พิสมัย รบชนะชัย พูลสุข Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3282 Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง พุทธประวัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านศรีไกรลาศ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3274 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ เรื่อง พุทธประวัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยการใช้ชุดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ ใช้วิธีการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลอง ก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านศรีไกรลาศ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 14 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้ 3 เรื่อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพโดยรวม (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) เท่ากับ 89.68/86.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ พบว่า ผลการเปรียบเทียบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจในการใช้ชุดการเรียนรู้สื่อประสม มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ฉัตรชนกร นิลเนตร์, พิสมัย รบชนะชัย พูลสุข, ทนง ทศไกร Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3274 Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสันติธรรม อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3256 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 โรงเรียนโรงเรียนวัดสันติธรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชียของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 15 ข้อ การหาคุณภาพเครื่องมือ พบว่า มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีประสิทธิภาพโดยรวม (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) เท่ากับ 87.70/86.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 21.97, S.D. = 1.87) และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 27.37, S.D. = 1.69) พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.65, S.D. = 0.48)</p> ชนิดา คลีฉายา, อาลัย จันทร์พาณิชย์, ภาราดร แก้วบุตรดี Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3256 Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3440 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานของเทศบาลตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทั้งหมดของเทศบาลตำบลวังศาลา จำนวน 89 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารงานของเทศบาลตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายการบริหารและปฏิบัติงาน มี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.44 มี S.D. = 0.35 ซึ่งเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อม มี = 4.40 มี S.D. = 0.34 ด้านบุคลากร มี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.39 มี S.D. = 0.40 และด้านองค์กร มี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.35 มี S.D. = 0.64 และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลตำบลวังศาลาอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ด้านองค์กร มีการสั่งการตามสายการบังคับบัญชา มี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.49 และ S.D. = 0.67 และมีการปฏิบัติงานเป็นลำดับขั้นตอน มี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.44 และ S.D. = 0.54 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลตำบลวังศาลาด้านสภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน มี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.55 และ S.D. = 0.29 และผู้บังคับบัญชามีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานมี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.43 และ S.D. = 0.36 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลตำบลวังศาลาด้านบุคลากร สามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จทันเวลา มี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.51 และ S.D. = 0.38 และสามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาระงานได้ มี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.45 และ S.D. = 0.27 และ S.D. = 0.38 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลตำบลวังศาลาด้านนโยบายการบริหารและปฏิบัติงาน มีความยินดีที่จะปฏิบัติตามนโยบายขององค์กร มี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.53 และ S.D. = 0.27 และมีการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายขององค์กร มี <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.46 และ S.D. = 0.36</p> พรทิพา แช่มขุนทด, ธนากร อ่อนสี, จาตุรงค์ สุทาวัน Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3440 Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700